South Korea



พื้นที่สาธารณะ เลนจักรยาน อาคารทิ้งร้าง สร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร ชวนศึกษา 5 เมืองทั่วโลกที่อยากเห็นผู้คนฉลาดขึ้น

01/12/2020

บทความดัดแปลงจากรายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / อคัมย์สิริ ล้อมพงษ์ / บุษยา พุทธอินทร์ / พิชนา ดีสารพัด Andrew Harrison และ Les Hotton ได้กล่าวถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพ ภายใต้กรอบแนวคิด ภูมิทัศน์การเรียนรู้ (learning landscape) เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตว่า การสร้างภูมิทัศน์การเรียนรู้ตั้งอยู่บนหลักความเชื่อที่ว่า พื้นที่ไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียงภาชนะสำหรับการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังแสดงออกถึงวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมคุณค่าและความเชื่อขององค์กรและบุคคลที่เป็นสมาชิก ดังนั้น หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพจึงไม่ควรเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่านั้น แต่ยังควรเน้นไปที่การแสดงออกถึงคุณค่าและหลักปรัชญา ความชัดเจนของภูมิทัศน์การเรียนรู้ที่ปรากฏผ่านทั้งในระดับผังและสถาปัตยกรรมจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging) ของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในองค์รวม และจะเป็นแรงดึงดูดผู้เรียนให้คงอยู่สภาพแวดล้อมกายภาพ องค์ประกอบของเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ภูมิทัศน์ของการเรียนรู้แห่งอนาคต ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยที่กระตุ้นทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อน […]

เมื่อข้อมูลดิจิทัลในเมืองคือสายสืบชั้นดี : จัดการ COVID-19 แบบเกาหลีใต้

28/04/2020

มาถึงวันนี้ ผู้คนในเกาหลีใต้เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ หลายคนออกไปเดินดูดอกไม้บานต้นฤดูใบไม้ผลิ (แม้จะยังมีคำเตือนจากรัฐบาลว่ายังไม่ควรออกไปในที่ชุมชน) ผิดกับเมื่อเดือนมีนาคมที่คนเกาหลียังอยู่ในภาวะหวาดกลัวโรคระบาด COVID-19 จากตัวเลขที่พุ่งสูงต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์แพร่เชื้อจำนวนมากในเมืองแทกูเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาฯ  วันนี้ตัวเลขได้ลดระดับลงแล้วในระดับหลักสิบ จนรู้สึกเหมือนไม่มีผลอะไรกับชีวิต เมื่อมองย้อนกลับไป ตัวเลขผู้ติดที่แซงหน้าประเทศอื่นๆ หลายประเทศอย่างรวดเร็วในกราฟระดับโลก มองแง่หนึ่ง คือความน่าสะพรึงกลัวของโรคระบาด แต่มองในอีกแง่ ตัวเลขเดียวกันนี้คือตัวเลขที่สะท้อนการจัดการอย่างเป็นระบบของเกาหลี ที่ทำให้เจอผู้ติดเชื้อได้ไวกว่าใครๆ  โรคไม่ได้หยุดแพร่ระบาดแค่เพียงเพราะเรามองไม่เห็นมัน หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่เกาหลีใต้ในการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 คือการติดตามค้นหาตัวผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อได้จำนวนมาก เพื่อมาเข้ากระบวนการตรวจสอบเชื้อได้อย่างครอบคลุม  ว่าแต่ว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเข้าใจจึงมั่นใจ ทางการเกาหลี เรียกกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้จัดการกับภาวะวิกฤตนี้ว่า TRUST ซึ่งมาจากคำว่า ความโปร่งใส (transparency) ความรับผิดชอบ (responsibility) การทำงานสอดรับกัน (united actions) วิทยาศาสตร์และความเร็ว (science and speed) และการร่วมกันใจเป็นหนึ่ง (together in solidarity) เมื่อมองเจาะได้ด้านความโปร่งใส ซึ่งเน้นไปที่การสืบหาตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อได้เร็วและรีบเผยแพร่ข่าวสารทันทีที่ได้รับการยืนยัน คือกุญแจสำคัญที่ประชาชนหลายคนเชื่อว่ารัฐรับมือได้ เพราะพวกเขาเองก็ได้รู้ทั้งสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อผ่านในช่วงเวลาต่างๆ และได้รู้สถานการณ์ในละแวกบ้านว่าร้ายแรงระดับไหน ส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้คือภาคเอกชนที่คิดชุดตรวจสอบโรค (test kit) ได้รวดเร็ว แต่อีกส่วน ต้องยกให้ความสามารถของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือ […]