life



10 ปี BIGTrees Project เครือข่ายที่ทำให้คนเมืองเรียนรู้ที่จะรักต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเมือง

10/12/2020

4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย แต่เมื่อ 4 ธันวาคมปี 2553 กลับเป็นวันที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ต้นจามจุรีอายุกว่า 100 ปี บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 35 ถูกโค่นลง แม้ว่าจะมีการขอเจรจากับเจ้าของที่ดินไม่ให้ตัดต้นไม้แล้วก็ตาม ความเจ็บช้ำในวันนั้น ทำให้เกิดกลุ่มคนรักต้นไม้รวมตัวกันในนาม BIGTrees Project เพื่อเน้นเรื่องการสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้คนในเมืองได้ไปสัมผัสธรรมชาติใกล้ตัว โดยมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในป่าคอนกรีตแห่งนี้ และกลายเป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องร้องเรียน หากมีการตัดต้นไม้ในที่สาธารณะ เพราะการตัดต้นไม้ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความใหญ่” แต่เป็น “เรื่องใหญ่” ที่ทุกคนควรตระหนักรู้ วันนี้ The Urbanis จึงมาพูดคุยกับคุณ สันติ โอภาสปกรณ์กิจ และคุณ อรยา สูตะบุตร สองผู้ร่วมผู้ก่อตั้งกลุ่ม BIGTrees Project ณ Luka Cafe Siri House คาเฟ่และร้านอาหารท่ามกลางร่มไม้ใหญ่ในซอยสมคิด ย่านเพลินจิต ในวาระครบ 10 ปีที่สนับสนุนให้เมืองรักษาต้นไม้ และอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้งดงามมาถึงปัจจุบัน […]

Bologna: เมืองเรียนรู้เดินได้ มหาวิทยาลัยมีชีวิต

05/11/2020

ถนนอิฐที่ทอดเป็นแนวยาว อาคารบ้านช่องสีอิฐ พร้อมประตูไม้บานใหญ่ที่เห็นอยู่ตลอดทาง ผสมผสานกับลวดลายกราฟฟิตี และเสียงหัวเราะของเหล่านักเรียนนักศึกษา เป็นภาพที่ชินตาของ Bologna เมืองทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างนครแห่งศิลปะฟลอเรนซ์ และเมืองแห่งแฟชั่นอย่างมิลาน Bologna เป็นเมืองขนาดย่อมๆ ที่ผสมผสานทั้งประวัติศาสตร์ยาวนานและความทันสมัย ประชากรในตัวเมืองจำนวนเกือบ 4 แสนคน และกว่า 1 ล้านคนทั่วทั้งจังหวัด ประกอบด้วยชาวต่างชาติและนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้ Bologna กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและความหลากหลาย ชื่อของเมือง Bologna อาจคุ้นหูใครหลายๆคน เพราะเป็นชื่อเดียวกับมหาวิทยาลัย Bologna หรือ Alma Mater Studiorum หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดชองโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1088 แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เหมือนกับที่เราคุ้นชินกัน เพราะตึกเรียนของสาขาวิชาต่างๆ กระจัดการจายไปทั่วทั้งเมือง เรียกได้ว่าทั้งเมืองคือมหาวิทยาลัย ไม่ว่าเดินไปที่ไหนก็จะเจอนักเรียนเข้าออกชั้นเรียนอยู่ทุกซอกมุมเมือง และด้วยความที่ไม่มีรั้วรอบกำหนดพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทำให้การเข้าเรียนในแต่ละวันของนักศึกษา คือการเดินไปยังห้องเรียนทั่วเมืองตามแต่วิชาที่ตัวเองเลือก และสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาให้สามารถเข้าเรียนได้ทุกคาบในทุกสภาวะอากาศไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดออก ก็คือทางเดินมีหลังคาที่เรียกว่า Portici ที่เชื่อมต่อทุกอาคารบนถนนสายหลักในเมืองที่เริ่มจากใจกลางเมืองคือบริเวณจตุรัสกลางเมือง Piazza Maggiore และหอเอนคู่สัญลักษณ์ของเมือง กระจายออกไปสู่ประตูเมืองทั้ง 12 ประตู ที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงล้อมเมืองและทางเข้าออกดั้งเดิม ทางเดินเหล่านี้เมื่อรวมทั้งในกำแพงเมืองและบางส่วนที่อยู่นอกเมือง […]

แนวโน้มในการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย

04/11/2020

ในอดีตการศึกษาเป็นการยกระดับชีวิต เลื่อนสถานะทางสังคม ใบปริญญาหลังจบการศึกษาจึงล้ำค่าเพราะแปลว่าโอกาสที่จะก้าวเท้าสู่การทำงานสว่างไสวในพริบตา แต่ปัจจุบันด้วยจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษามากขึ้น และการจบการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยไม่ได้การันตีการมีงานทำอีกต่อไป แถมกรอบการเรียนรู้แบบเดิมก็มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จนหลายคนไม่ได้ค้นหาความถนัดของตนเอง เมื่อวันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น คุณค่าการศึกษาและการเรียนรู้จึงมีการขยับปรับเปลี่ยน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ทิศทางการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นจากการปฏิวัติเทคโนโลยีและการสื่อสาร โลกได้เคลื่อนออกจาก “ยุคอุตสาหกรรม” เป็น “ยุคหลังอุตสาหกรรม” ที่เศรษฐกิจสังคมตั้งอยู่บน “ฐานของความรู้” ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรมเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงความต้องการทักษะของทรัพยากรมนุษย์อันพึงประสงค์ที่แตกต่างไปจากเดิม จากการศึกษาเนื้อหาเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถอธิบายสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในองค์กรมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นสถาบันหลักระดับอุดมศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านสาระการเรียนรู้ (substance) ด้านวิธีการและเครื่องมือ (methods and tools) และด้านองค์กร (organization) หมายเหตุ เนื้อหาเรียบเรียงจากโครงการจัดทำผังแม่บทฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. หมวดสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันใน 5 ทิศทาง ได้แก่ 1.1 การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้เชิงกว้างในอนาคต ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และประสบปัญหาเด็กเกิดน้อยลง […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

ว่าด้วยการซื้อของในเมืองเบื้องต้น คุยกับ อ.ดร. พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ ในช่วงที่การเดินทางเป็นเรื่องลำบาก

13/05/2020

ลองนึกถึงสินค้าชิ้นล่าสุดที่คุณเพิ่งซื้อ คุณซื้อจากที่ไหน แล้วถ้าหากเป็นช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด ของชิ้นที่ว่า เดิมทีคุณจะซื้อจากที่ไหน คำตอบสำหรับภาพการซื้อของในเมืองมีได้หลากหลาย ทั้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขามากมายมหาศาล ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตมหึมา หรือใช้นิ้วสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ก็มีให้เลื่อนให้ไถกันไม่หยุด รวมถึง ตลาดนัด และอื่นๆ  แต่การมาของโควิด-19 โรคระบาดครั้งใหญ่ที่ถูกทั้งโลกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนภาพการซื้อของในเมืองไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้คนไม่สามารถไปกินข้าวที่ร้านประจำได้ ถูกงดช็อปปิ้งในห้าง อยู่บ้านมากขึ้นกักตัวพร้อมกักตุนอาหาร และอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้พฤติกรรมการซื้อของต้องเปลี่ยนไป  ในวันที่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือ โครงการย่อยที่ 5 ซึ่งพูดถึงเรื่อง ‘อนาคตของการซื้อของในเมือง’ การมาเยือนของโควิด-19 ส่งผลให้อนาคตการซื้อของของคนเมืองในงานวิจัยนั้นเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร สมมติฐานถึงอนาคตทั้งใกล้ไกลจะเบนเข็มไปในทิศทางไหน ทุกๆ อย่างกำลังเปลี่ยน เปลี่ยนไปจากความคุ้นชิน เปลี่ยนไปในทิศทางบังคับที่ทุกคนต้องปรับตัวตาม และยังไม่รู้เลยว่า คลื่นลมของการเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ จะสงบลงได้ในวันไหน การพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ในช่วงเวลาแบบนี้ เมืองควรมีร้านสะดวกซื้อเพราะอะไร เมืองเกิดจากตลาดแล้วก็วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ร้านค้าจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองมาตั้งแต่ต้น การค้าในเมืองในยุค 1.0 […]