green



มาแล้วลูกจ๋า “พื้นที่สีเขียว” ที่หนูอยากได้

04/11/2021

เรื่อง/วิเคราะห์ข้อมูล/แมพวิชวล โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ หากนี่คือเกมที่ว่าด้วยการจัดสรรและการกระจายสวนสาธารณะให้กับเมือง ในเมื่อเมืองเรากำลังให้ความสำคัญกับเรื่องสวนสาธารณะ และคนที่อาศัยอยู่ในเมืองกำลังต้องการพื้นที่สาธารณะเพิ่ม เราในฐานะนักวางแผน/นักวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยในการจัดการสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี หากเมืองของเราจะมีการพัฒนา หรือฟื้นฟูพื้นที่สวนสาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนที่อยู่ในเมือง แต่คำถามสำคัญมากกว่านั้น หากเราเป็นนักวางผังหรือความจริงเป็นคำถามที่ใครก็สามารถตั้งคำถามได้ ไม่ว่าประชาชนคนธรรมดา ทั้งที่เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎร์หรือเป็นประชาชนชั้น 2 (ประชากรแฝง) ที่เข้ามาทำงาน มาเรียนอยู่ในมหานครแห่งนี้ ว่า “สวนสาธารณะ” นั้นเป็นสิ่งที่เราควรได้รับการให้บริการจากเมืองหรือไม่ หากคำตอบคือ ใช่ คำถามถัดมาที่เราควรถามหรือมีในใจ คือ ควรจะมีที่ไหน มีให้เท่าไหร่ และมีอย่างไร?  คำถามว่าด้วยความเหลื่อมล้ำและหลุมพรางของเรื่องที่ดี มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คงเป็นศตวรรษของกรุงเทพฯ สีเขียวจริงๆ แต่หลุมพรางที่ตามมาของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะ ที่ดูเหมือนว่าจะทำอย่างไรมันก็ดูเป็นเรื่องดีไปหมดนี้ ทำให้เกิดคำถามฉุดขึ้นในใจว่า หากเมืองจะมีนโยบายที่เด็ดเดี่ยวและตั้งใจเช่นนี้ คำถามของผมในฐานะนักผังเมืองที่เป็นประชากรแฝงคนหนึ่ง ก็คือ การตัดสินใจในการสร้างหรือพัฒนาโครงการเหล่านี้ หากพิจารณาตามหลักพื้นฐานของการวางผังหรือแผนของเมือง ซึ่งว่าด้วยศาสตร์ของการออกแบบและการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พื้นที่เหล่านี้มันควรมีการกระจายตัวหรือมีการจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เป็น “หลุมพรางของเรื่องที่ดี” และจะไม่สร้างความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ให้เกิดขึ้นไปมากกว่านี้ ดังนั้น หากสมมุติว่าเราสามารถเลือกหรือมีโอกาสได้เลือก เราจะจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร ในเมื่องบประมาณในเรื่องนี้มีอยู่อย่างจำกัด เพราะคงมีเรื่อง หรือปัญหาทุกข์ร้อนในเมืองอีกมากโข ที่เมืองจะต้องเร่งแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน […]

รั้วรอบ ขอบชิด ปิดประตู : เพียงกรุงเทพฯ “สลายรั้ว” เราจะเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้มากขึ้น

27/05/2021

ภาพปกโดย photo created by mrsiraphol – www.freepik.com บางครั้งการเดินเท้าไปตามถนนใหญ่อาจทำให้เราต้องเจอกับความวุ่นวายและมลพิษมากไปสักหน่อย การได้เดินลัดผ่านสวนหรือพื้นที่สงบ ๆ กว้าง ๆ บ้างก็คงให้บรรยากาศที่ดีกับการเดินในชีวิตประจำวันของเราไม่น้อย ความคิดนี้จะไม่เกินความจริงเลย หากเรากำลังเดินอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี แต่พอเราอยู่ในกรุงเทพฯ มองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกและรั้วทึบ ๆ กับถนนใหญ่มหึมาที่มาพร้อมกับทางเดินเท้าขนาดพอดีตัว 3 เหตุผล ทำไมกรุงเทพฯ เป็น “เมืองแห่งรั้ว” เราคงรู้กันดีว่าสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ นั้นแสนจะห่างไกลเกินเอื้อมถึง ไม่ได้อยู่ให้เราเดินผ่านได้บ่อย ๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งถึงแม้พื้นที่สาธารณะจะอยู่แค่เอื้อม เราก็อาจจะยังต้องติดอยู่กับถนนกับทางเดินเล็ก ๆ ของเราไปอีกไกล ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะรั้วโลหะเจ้ากรรมที่ยั่วให้เราได้เห็นสวน เห็นสนามหญ้า หรือเห็นลานกว้างอยู่ข้างตัว แต่ก็ขวางเราไว้ไม่ให้ไปถึง  ตั้งแต่สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย ไปจนถึงที่ทำการหน่วยงานราชการ ทุก ๆ พื้นที่เหล่านี้ล้วนแต่มีรั้วรอบขอบชิด เข้าได้แค่จุดนี้ ออกได้แค่ทางนี้ ถ้าโชคไม่ดีมาวันที่เขาปิดประตูลงกลอน เราก็อาจจะต้องเดินอ้อมไปเป็นกิโลเมตร ความเป็นเมืองแห่งรั้วของกรุงเทพฯ นี้มีเหตุมาจาก 3 เรื่องหลัก ๆ คือสัณฐานของเมือง การกระจายความเป็นเจ้าของที่ดิน และมุมมองต่อพื้นที่สาธารณะ […]

ช็องเซลีเซ vs รัตนโกสินทร์ เมื่อทิศทางการพัฒนาถนนสำคัญของเมือง มุ่งสู่การ “เดินได้ เดินดี เดินร่ม เดินเย็น” และ หวังให้คนรักเมืองมากขึ้น

15/01/2021

หลังเข้าศักราชใหม่ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ แอนน์ ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส เจ้าของนโยบาย “ปารีส 15 นาที” ที่ทำให้ผู้สนใจด้านเมืองพูดถึงกันทั่วโลกเมื่อปี 2020 ว่าจะออกแบบเมืองโดยให้ชาวปารีเซียงสามารถเดินและปั่นจักรยาน ไปยังจุดหมายการเดินทางสำคัญในชีวิตประจำวันโดยใช้เวลาไม่ถึง 15 นาที  ล่าสุด นางฮิดาลโก ได้ประกาศเมกะโปรเจกต์ Champs-élysées Revamp โดยทุ่มงบประมาณกว่ 305 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 9,000 ล้านบาท ออกแบบถนนซ็องเซลีเซระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่มีชื่อเสียงและสวยที่สุดในโลกเส้นหนึ่ง ให้กลายเป็นสวนและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่พิเศษกลางกรุงปารีส โดยมีเป้าหมายลดขนาดพื้นผิวจราจรของรถยนต์ เพิ่มขนาดทางเดินเท้า-เส้นทางจักรยาน และเพิ่มต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียว ไม่เพียงต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเมือง หากเป้าหมายของโปรเจ็กต์ยังหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง ผ่านร้านค้าขนาดเล็กที่จะเพิ่มขึ้นตลอดแนวถนน Feargus O’Sullivan นักเขียนประจำ Bloomberg Citylab เขียนว่า แม้ถนนช็องเซลีเซจะมีชื่อเสียงระดับโลก แต่สำหรับชาวเมืองปารีสเอง ถนนสายสำคัญเส้นนี้กลับไม่เป็นที่รักของคนเมืองเท่าไหร่นัก เนื่องจากขนาดที่ใหญ่ มีสภาพการจราจรติดขัด ก่อมลพิษมหาศาล และมีราคาเช่าสูง ผลสำรวจเมื่อปี 2019 พบว่า ชาวเมืองปารีสกว่า […]

ทำไม Norman Foster มั่นใจว่า Covid-19 ทำให้เมืองสมาร์ตและเขียวขึ้น?

07/01/2021

จากข่าวการเริ่มใช้วัคซีน Covid-19 ทำให้หลายคนเริ่มคิดถึงการใช้ชีวิตในยุคหลังโควิดมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการระบาดของ Covid-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การใช้ชีวิตรายบุคคลเท่านั้น แต่เมืองก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เมือง มีพลวัต ไม่ตายตัว การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอด Covid-19 จึงอาจไม่ใช่ตัวการหลักของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงเป็นเพียงแรงกระตุ้นให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้นเท่านั้น สถาปนิก Norman Foster เขียนไว้ใน The Guardian ว่า ในอดีตเมืองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังเช่นกรุงปารีสและลอนดอนที่เคยเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันก็ถูกแซงหน้าด้วยอีกหลายเมืองในทวีปเอเชียจึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเมืองเกิดขึ้นทุกชั่วขณะ เป็นไปตามวิวัฒนาการและเทคโนโลยี Foster ยกตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ในลอนดอนเมื่อปี 1666 ที่นำมาสู่การก่อสร้างตึกด้วยอิฐแบบทนไฟ หรือการระบาดของอหิวาตกโรคในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ทำให้ต้องวางระบบท่อประปาใหม่ทั้งเมือง เพื่อยกเลิกการใช้แม่น้ำเธมส์เป็นสถานที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือการเข้ามาของรถยนต์ที่ทำให้ถนนหนทางสะอาดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งมลพิษในปัจจุบัน ทุกเหตุการณ์ล้วนแล้วแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองไม่ช้าก็เร็ว ต่อให้ไม่มีไฟไหม้หรือการระบาดของอหิวาตกโรค ระบบการบำบัดน้ำเสียและการป้องกันอัคคีภัยก็คงเกิดขึ้นอยู่ดีในอีกไม่กี่ปีให้หลัง แม้ Covid-19 จะทำให้การใช้ชีวิตเราเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างจะกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตหลังโควิด เพราะเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างการระบาดครั้งใหญ่ของ Spanish Flu ในปี 1918 สิ่งที่ตามมาในช่วงปี 1920 กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่ตามมาด้วยการสร้างสถานที่พบปะใหม่ๆ อย่างห้างสรรพสินค้า […]

10 ปี BIGTrees Project เครือข่ายที่ทำให้คนเมืองเรียนรู้ที่จะรักต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเมือง

10/12/2020

4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย แต่เมื่อ 4 ธันวาคมปี 2553 กลับเป็นวันที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ต้นจามจุรีอายุกว่า 100 ปี บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 35 ถูกโค่นลง แม้ว่าจะมีการขอเจรจากับเจ้าของที่ดินไม่ให้ตัดต้นไม้แล้วก็ตาม ความเจ็บช้ำในวันนั้น ทำให้เกิดกลุ่มคนรักต้นไม้รวมตัวกันในนาม BIGTrees Project เพื่อเน้นเรื่องการสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้คนในเมืองได้ไปสัมผัสธรรมชาติใกล้ตัว โดยมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในป่าคอนกรีตแห่งนี้ และกลายเป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องร้องเรียน หากมีการตัดต้นไม้ในที่สาธารณะ เพราะการตัดต้นไม้ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความใหญ่” แต่เป็น “เรื่องใหญ่” ที่ทุกคนควรตระหนักรู้ วันนี้ The Urbanis จึงมาพูดคุยกับคุณ สันติ โอภาสปกรณ์กิจ และคุณ อรยา สูตะบุตร สองผู้ร่วมผู้ก่อตั้งกลุ่ม BIGTrees Project ณ Luka Cafe Siri House คาเฟ่และร้านอาหารท่ามกลางร่มไม้ใหญ่ในซอยสมคิด ย่านเพลินจิต ในวาระครบ 10 ปีที่สนับสนุนให้เมืองรักษาต้นไม้ และอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้งดงามมาถึงปัจจุบัน […]