COVID-19



สัปเหร่อนอกสายตา เมรุแตก พิธีกรรมการจากลาที่หายไป ฯลฯ : บทสนทนาว่าด้วยโควิดกับการตายและการจัดการร่าง กับ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

02/08/2021

ไอซียูใกล้แตก เมรุใกล้เต็ม คนวงการแพทย์ไม่ไหวจะแฉ ย่ำแย่มานาน แต่ไม่มีการแก้ไข (ผู้จัดการ, 24 มิ.ย. 64) อลหม่านงานศพตาวัย 85 พระกำลังสวดวงแตก เจ้าหน้าที่ขออายัดหลังพบติดโควิด (ไทยรัฐ, 5 ก.ค. 64) ศพโควิดล้น หลวงพี่ควบหน้าที่สัปเหร่อ สวดเองเผาเอง (อมรินทร์ทีวี, 14 ก.ค. 64) สลด! ดับ 3 ราย นอนตายข้างถนน-คาบ้าน รอ จนท. เก็บศพนานหลายชั่วโมง (กรุงเทพธุรกิจ, 21 ก.ค. 64) เผาจนเมรุถล่ม! วัดบางน้ำชนวอนบริจาคสร้างใหม่ (ทีเอ็นเอ็น24, 23 กรกฎาคม 64) บางส่วนของพาดหัวข่าวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกปี 2564 ของประเทศไทย ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับความตายและเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะโรคระบาด ความตายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง อย่างเช่นข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่กลายเป็นการเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลใกล้ชิด เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่ […]

THE POST-PANDEMIC CITY WE WANT เมืองแบบไหนที่ฉันอยากอยู่หลังโควิด

17/06/2021

เรียบเรียงจากเวที TEDxBangkok: ประเทศไทยในจินตนาการ นำเสนอโดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมด้วย คุณบรรยง พงษ์พานิช และคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เพื่อชวนสังคมไทยระดมไอเดียหาทางออกหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านมุมมองเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และเมือง ขอพูดถึงสถานการณ์ปัญหา ก่อนพูดถึงความฝันหรือจินตนาการ ดังที่ นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า โควิด-19 เผยให้เห็นปัญหาของเมืองที่มีอยู่เดิมให้ปรากฏชัดขึ้น เช่น ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ชี้ว่า ปัญหาการแพร่ระบาดในประเทศไทยมาจาก ความอปกติปัจจุบัน หรือ CURRENT ABNORMAL ของเมือง เช่น ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาแรงงานนอกระบบ ปัญหาเศรษฐกิจที่ถูกเรียกว่า สีเทา ซึ่งแรงงานในภาคเหล่านี้มีจำนวนมหาศาล และล้วนเป็นแรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเมือง แต่เมืองทำเหมือนว่าไม่มีพวกเขาอยู่ เป็นกลุ่ม INVISIBLE คือ ไม่ถูกมองเห็น หรือแย่กว่านั้นคือกลุ่ม UNVISIBLE […]

มหาวิทยาลัยสิงคโปร์รับมือโควิด-19 อย่างไรให้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์มาแล้วเกือบ 1 ปี

19/01/2021

เมื่อปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินคำพูดคุ้นหูที่ว่า “อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ในปี 2020” การระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของผู้คนและเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเดินทางสัญจรที่ทำได้ยาก และผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การดำเนินชีวิตของผู้คนจึงตั้งอยู่ความปกติใหม่ (New Normal) สิ่งนี้นับเป็นการเรียนรู้ครั้งสำคัญของสังคมโดยรวม การปิดทำการของสถานที่หลายแห่งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะสถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย พื้นที่การเรียนรู้หลักของผู้คนในเมือง ก่อให้เกิดวิธีการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างการเรียนการสอนออนไลน์ นับเป็นปรับตัวครั้งใหญ่ของทั้งผู้เรียนและผู้จัดการศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ล่าสุดได้ประกาศปิดที่ทำการทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3-31 มกราคม 2564 และให้มีการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาในรูปแบบออนไลน์ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 (ตามประกาศวันที่ 2 มกราคม 2564) ตัวอย่างมาตรการรับมือกับโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา ที่สำนักข่าว The New York Times ยกเป็นให้กรณีศึกษา คือมหาวิทยาลัยหลักทั้งสามแห่งของประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management […]

สถาปนิกกัวลาลัมเปอร์ เปลี่ยนพื้นที่ทิ้งร้างของเมือง เป็นพื้นที่สีเขียวกินได้และสร้างมั่นคงให้ชุมชน

21/08/2020

คุณครูพาเด็กนักเรียนมาปลูกข้าว พ่อแม่จูงลูกน้อยมาเรียนปลูกต้นกล้า อาสาสมัครจับกลุ่มรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช เด็กในชุมชนละแวกสวนชวนกันเตะฟุตบอล หรือผู้สูงอายุอุ้มเป็ดตัวอ้วน คือ ภาพชีวิตเมืองที่เกิดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ณ พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ชื่อว่า “เคอบุน เคอบุน บังซาร์” (Kebun-Kebun Bangsar) พื้นที่สีเขียวของเมืองที่เป็นมากกว่า “สวนกินได้” (edible garden) ในเมืองหลวงที่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวมากกว่า 44 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน  เป็นเวลา 3 ปีแล้วที่ชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ได้รู้จักเคอบุน เคอบุน บังซาร์ สวนชุมชนขนาด 20 ไร่ จากการฟื้นฟูพื้นที่ทิ้งร้างใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงใจกลางเมือง ดำเนินการโดย Ng Sek San สถาปนิกวัยใกล้ 60 ปี ผู้หันหลังให้กับงานคอมเมอร์เชียลทั้งในและต่างประเทศเมื่อ 6 ปีก่อน และหันหน้าสู่งานชุมชน เมือง และวัฒนธรรมอย่างเต็มตัว   “สำหรับผม นี่เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่สุดเท่าที่ทำงานมาทั้งชีวิต” Ng Sek San พูดถึง เคอร์บุน-เคอร์บุน  กว่าจะประสบความสำเร็จเป็นพื้นที่สาธารณะของคนเมืองในปี […]

Globalization of suffering โลกาภิวัตน์ของความทุกข์ทรมาน โรคระบาด และการปลดเปลื้องมายาคติแห่งความตาย

16/07/2020

เรื่อง: ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ เป็นเวลานับเดือนที่เรื่องราวและเรื่องเล่าว่าด้วยการตาย ความตาย และการจัดการร่างผู้วายชนม์จากโรคระบาด COVID-19 ทั่วโลก ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบข่าวโทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ และอีกมากมายในสื่อกระแสหลักแนวใหม่อย่างโซเชียลมีเดีย  เรายังได้ทำความรู้จักโฉมหน้าที่เราไม่ค่อยได้จินตนาการถึงเกี่ยวกับความตาย และการจัดการกับร่างผู้วายชนม์ผ่านภาพนิ่งหรือวีดิโอคลิป ที่มีพลังสื่อสารได้ชัดและแรงพอทำให้เราทุกคนปลดปล่อยพลังแห่งความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของคนมากมายในโลกนี่ ผู้กำลังสะเทือนใจจากการได้รับรู้ถึงการตายอย่างโดดเดี่ยว และไม่ทันตั้งเนื้อตั้งตัว นอกจากการตายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ในบ้านท่ามกลางผู้คนมากมาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังทำให้เราได้เห็นศพจำนวนมากถูกลำเลียงออกจากโรงพยาบาลไปพักในตู้เก็บศพเฉพาะกิจที่จอดเรียงรายบนถนนสาธารณะ ศพจำนวนมากถูกนำมาวางซ้อนๆ กันอย่างรีบร้อนและผิดที่ผิดทางอย่างไม่มีทางเลือก เพราะพื้นที่สำหรับความตาย – ห้องเก็บศพในโรงพยาบาล สุสาน วัด และที่เผาศพ มีไม่เพียงพอที่จะจัดการกับความตายได้อย่างทันท่วงที และในวิถีที่อ่อนโยนกว่าที่เป็น     คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่า โรคระบาดอย่าง COVID-19 มีพลังในการเปลี่ยนโลก ตีแผ่สัจธรรมแห่งชีวิตและสรรพสิ่ง ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ผุพังระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติออกมาอย่างคมชัด  นักคิด นักวิชาการชั้นนำของโลกต่างออกมาชี้ชัดว่า COVID-19 ได้ทำลายโลกาภิวัตน์ในฐานะระเบียบโลกลงแล้ว โลกจะแคบลง ยากจนขึ้น ชีวิตจะดำรงอยู่อย่างยากลำบาก ทุกคนต้องปรับตัวเข้ากับวิถีใหม่ หรือ New normal (บ้างเรียกความปกติใหม่ ความปกติที่เคยไม่ปกติ และนววิถี เป็นต้น)  ให้ได้เร็วที่สุด แม้จะมีทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่แตกต่างกันลิบลับก็ตาม แน่นอนว่าสิ่งแวดล้อมและขนบใหม่เช่นนี้ย่อมต้องส่งผลโดยตรงต่อชีวิตเราทุกคน นับตั้งแต่การอยู่อาศัย การดำรงชีวิต […]

สุขภาพหรือเสรีภาพ? เมื่อ Covid-19 ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันต้องแลกมาด้วยข้อมูลส่วนตัว

10/07/2020

“ไทยชนะ” ชื่อนี้นำมาซึ่งความรู้สึกที่ป่วนหัวใจ ไม่ใช่เพราะชื่อที่กำกวม เต็มไปด้วยคำถาม เราชนะใคร? ชนะอะไร? เรากำลังแข่งอะไรเหรอ? แต่เป็นความรู้สึกที่ไม่ว่าเดินไปที่ไหนในตอนนี้ก็ต้องเห็น QR Code ที่ต้องสแกนก่อนเข้าไปใช้บริการในสถานที่ต่างๆ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านตัดผม ร้านขนม ร้านกาแฟ ร้านขายยา ร้านข้าวแกง ถ้าอีกหน่อยมีติดหน้าหมู่บ้านให้สแกนก่อนเข้าก็คงไม่แปลกใจสักเท่าไหร่ ปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องของความวุ่นวาย ควานหาสมาร์ตโฟนในกระเป๋าสะพายออกมาตลอดเวลา แต่มันเป็นการตั้งคำถามต่อเรื่องของข้อมูลความเป็นส่วนตัวซะมากกว่า เพราะหลายครั้งที่เข้าไปสถานที่เหล่านี้ถ้าไม่อยากยุ่งยากสแกน QR ก็ต้องเขียนชื่อและเบอร์ติดต่อ ซึ่งในมุมมองของความปลอดภัยแล้วข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น แต่ในมุมมองของธุรกิจแล้วมันเป็นขุมทองมีมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียว แถมยังมีเรื่องของความเป็นส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ข่าวที่ออกไปเมื่อไม่นานมานี้ที่พนักงานร้านสะดวกซื้อถือวิสาสะนำเบอร์ส่วนตัวของลูกค้าที่เขียนตอนเข้าร้านมาเพิ่มเพื่อนแล้วทักไปจีบเชิงชู้สาวนั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของเรื่องนี้ มันเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานที่ไม่ควรเกิดขึ้น หลายคนอาจจะบอกว่านี่มันเป็นการกระทำส่วนบุคคลและไม่ได้บ่งบอกถึงภาพใหญ่ทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญที่อยากสื่อก็คือเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยง่าย ขนาดพนักงานสะดวกซื้อก็ยังเอาไปได้ แล้วนับประสาอะไรกับผู้มีอำนาจทั้งภาครัฐและเอกชนถ้าพวกเขาต้องการข้อมูลเหล่านี้?  แล้วเราจะเชื่อได้ยังไงว่ามันจะปลอดภัยในอนาคต? สิ่งหนึ่งที่เราไม่มีทางรู้เลยก็คือตอนจบของ Covid-19 ว่าจะมาเมื่อไหร่และจะมาในรูปแบบไหน คงเป็นไปได้อย่างที่ทุกอย่างจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมโดยไร้วัคซีน (ซึ่งก็ไม่รู้อีกนั่นแหละว่าเมื่อไหร่จะมา) แต่จากที่เห็นในตอนนี้วิธีการที่ดีที่สุดในการต่อกรกับไวรัสร้ายก็คือการติดตามว่ามันมีโอกาสแพร่กระจายไปไหนบ้างและในบางกรณีก็ต้องบังคับให้ประชาชนบางส่วนกักตัวลำพังในพื้นที่ที่จัดเตรียมเอาไว้ให้ ช่วงที่ผ่านมาเราได้ยินคำว่า “Contact Tracing” บ่อยขึ้นตามบทความและเนื้อข่าวต่างๆ ซึ่งไอเดียของมันก็คือการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยว่าไปเจอใครมาบ้าง ที่ผ่านมาเดินทางไปที่ไหน ฯลฯ แต่ว่ามันก็เป็นเรื่องยากเพราะขึ้นอยู่กับความจำของคนคนนั้นว่าจดจำรายละเอียดได้มากขนาดไหนและความเชี่ยวชาญของผู้สอบถามอีกด้วย เพราะฉะนั้นด้วยขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และงานที่หนัก การทำ Contact Tracing โดยมนุษย์นั้นจึงเป็นเรื่องยาก จึงนำมาซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้สมาร์ตโฟนเพื่อตรวจสอบว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขนาดไหน ไปเจอใครที่มีความเสี่ยงมาบ้างรึเปล่า ซึ่งไอเดียนี้ก็เริ่มถูกนำไปใช้ในหลายๆ ที่และก็มีประสิทธิภาพในระดับที่เป็นเรื่องน่าพอใจ ตัวอย่างของบ้านเราที่เพิ่งเกิดขึ้นก็คือแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เป็นแอปฯ เก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อประเมินความเสี่ยงได้ว่า ในบริเวณนั้นมีผู้ป่วย Covid-19 หรือไม่ โดยเก็บข้อมูลจาก GPS และ Bluetooth โดยจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือหนึ่งส่วนประเมินความเสี่ยงของตัวเองและสองคือแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้งานนั้นเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 หลังจากโหลดแอปฯ แล้วก็สามารถทำแบบสอบถาม แอปฯ ก็จะจัดหมวดหมู่ให้ผู้ใช้งาน (เขียว, เหลือง, ส้ม, แดง ตามความเสี่ยงและคำตอบที่ให้) โดยการประมวลผลส่งไปยังระบบ ผู้ใช้คนอื่นๆ จะมองไม่เห็นว่าแต่ละคนอยู่ที่ไหนบ้าง แต่จะมีการแจ้งเตือนหากเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพียงเท่านั้น การใช้งานเบื้องต้นคือถ่ายรูปของตัวเองแล้วก็เปิดให้แอปฯ เข้าใช้โลเคชั่นของโทรศัพท์ พร้อมกับเปิด Bluetooth เพียงแค่นี้ […]

เติบโตจากการใช้ชีวิตในต่าง ‘เมือง’ : คุยกับลูกเรือในวันที่ COVID-19 ทำให้ต้องหยุดบิน

15/06/2020

หากนึกดูให้ดี ‘สายการบินระหว่างประเทศ’ แท้จริงแล้วคือ ‘สายการบินระหว่างเมือง’ ไฟลท์บินระหว่างไทย – อังกฤษ ส่วนใหญ่คือ การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ – ลอนดอน เช่นเดียวกับไฟลท์บินไทย – สิงคโปร์ ย่อมไม่ใช่อะไรอื่นใดระหว่างการเชื่อมสองมหานครหลวงของทั้งสองประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาชีพบนเครื่องบินเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็น ‘บ้าน’ และ ‘เมือง’ หลายแบบ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบโดยตรงทุกประเทศทั่วโลก บางสายการบินถึงกับล้มละลาย เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายได้เข้ามา การปรับลดต้นทุนและใช้มาตราการฉุกเฉินอาจทำให้รอดจากสภาวะนี้ หากแต่เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดจะจบลงตรงไหน นับว่าเป็นอีกวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมและบุคลากรทางการบินได้เผชิญ ในขณะที่ใครหลายคนสามารถ work from home ได้ แต่ดูเหมือนว่า โอปอล์ – ศศินันท์ บุญเฉียน ลูกเรือสายการบินแห่งหนึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะเมื่อเครื่องบินบินไม่ได้ ลูกเรือก็ต้องหยุดงาน ทว่าโอปอล์ต้องประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ‘เมือง’ ที่ไม่ใช่ ‘บ้าน’ ของเธอ อย่างผู้อยู่อาศัย แม้จะมีทางเลือกให้เธอกลับ ‘บ้าน’ ได้แต่ก็มีหลายเหตุผลให้โอปอล์เลือกที่จะอยู่ที่นี่ น่าสนใจว่า มุมมองต่อ […]

How’s it going? : ฟรีแลนซ์ชาวไทยในอเมริกา กับชีวิตในเมืองที่ล็อกดาวน์มากว่า 2 เดือน

28/05/2020

มากกว่า 1,600,000 คือจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในสหรัฐอเมริกา ณ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ตอนนี้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งแสนคน โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยนิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ และแมสซาชูเซตส์ ชีวิตของชาวเมืองที่ต้องอยู่ในเมืองที่ผู้ติดเชื้อมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศจะเป็นอย่างไร? เราได้พูดคุยกับฟรีแลนซ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ‘ส้ม-กันยารัตน์ สุวรรณสุข’ ถึงการใช้ชีวิตในบอสตันในช่วงนี้ จริงๆ แล้ว ส้มบอกกับเราว่ากำลังอยู่ในช่วง gap year และมีแผนจะไปเรียนต่อ แต่ก็มีสถานการณ์โควิดเข้ามาเสียก่อน ตอนนี้เลยได้แต่เตรียมตัวไปพลางๆ และการอาศัยอยู่ในบอสตันที่ล็อกดาวน์มาแล้วกว่า 2 เดือน ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปไม่น้อยเลย ‘โอ้มายก็อด ปิดเมืองมานานขนาดนี้แล้วเหรอ’ ส้มอุทานออกมาเมื่อเราถามว่าบอสตันเริ่มล็อกดาวน์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคุยกันผ่านทางวิดีโอคอล ส้มเล่าให้เราฟังว่าจากเดิมบอสตันเป็นเมืองแห่งการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษาจากหลายชาติทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเสมอ ยิ่งในช่วงที่เริ่มจะเข้าซัมเมอร์เช่นนี้แล้ว ถ้าเป็นในปีก่อนๆ จะเริ่มเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งอเมริกัน ยุโรป รวมถึงเอเชีย ออกมาเดินเล่นรับอากาศดีๆ หลังจากหน้าหนาวผ่านพ้นไป แต่ซัมเมอร์ปีนี้เงียบเหงาและเศร้ากว่าทุกปี สถานที่ที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานถูกปิดลง จะเหลือก็แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านขายยาเท่านั้นที่ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แม้ว่าอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเมืองและรัฐที่ส้มอาศัยอยู่ ทำให้ในช่วงนี้ไม่มีรายได้เลยก็ตาม […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]

คุยเรื่องห้องเรียนในอนาคต กับ ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกเบื้องหลังแนวคิดพื้นที่เรียนรู้แบบไฮบริดในซิลิคอนแวลลีย์

27/05/2020

“ผมมองว่าหลังโควิด-19 คนในแคลิฟอร์เนียก็ยังจะกลับมาเข้าเรียนเหมือนเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือกรอบคิดของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อมต่อกับผู้คน หลัง COVID-19 แม้เมื่อมียารักษาแล้ว ผู้คนก็ยังไม่ลืมว่าเขาเคยสามารถทำงานที่บ้านได้ เคยเรียนและคุยกับคนทั้งห้องที่บ้านผ่านออนไลน์ได้ และเขาก็จะเริ่มถามว่า ทำไมเราจึงมีห้องว่างและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากมายนัก ทั้งที่บางส่วนสามารถย้ายไปอยู่ Online ได้” ยรรยง บุญ-หลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นของโควิด-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาแทบทุกประเทศอย่างฉับพลัน ทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การปรับตัวในระยะสั้นด้วยการเรียนทางไกลส่งผลให้นักเรียนและโรงเรียนต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังทำให้เกิดความปกติใหม่ ที่ทำลายแนวคิดการเรียนรู้แบบเก่าที่ผูดขาดการเรียนการสอนในระบบไว้ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั้น  The Urbanis ชวน ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกชุมชนชาวไทย ผู้เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกอเมริกัน (The American Institute of Architects) พูดคุยเรื่องการเรียนรู้ในอนาคต ทั้งรูปแบบการเรียนการสอน คุณภาพการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้แห่งอนาคต ที่ยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ปัจจุบัน ยรรยงอาศัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำงานวิจัยและออกแบบโรงเรียนของรัฐในเขตซิลิคอนแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แน่นอนว่าแนวคิดที่ยรรยงให้ความสนใจและทำการศึกษาออกแบบอยู่ อาจถูกเร่งปฏิกิริยากลายเป็นความจริงได้เร็วขึ้นเพราะวิกฤตโควิด-19 ที่สั่นสะเทือนไปทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่แวดวงทางการศึกษา เมื่อพูดถึงซิลิคอนแวลลีย์ หลายคนคิดถึงภาพศูนย์รวมของบริษัทและสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ต่างแข่งขันกันนำเสนอนวัตกรรมเปลี่ยนโลก เช่นเดียวกัน โรงเรียนในเขตซิลิคอนแวลลีย์ก็ย่อมมีความพิเศษไม่แพ้กัน ซิลิคอนแวลลีย์ การศึกษาส่วนผสมของแพลตฟอร์มการเรียนรู้เป็นอย่างไรบ้าง […]

1 2 3