Coronavirus



สัปเหร่อนอกสายตา เมรุแตก พิธีกรรมการจากลาที่หายไป ฯลฯ : บทสนทนาว่าด้วยโควิดกับการตายและการจัดการร่าง กับ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

02/08/2021

ไอซียูใกล้แตก เมรุใกล้เต็ม คนวงการแพทย์ไม่ไหวจะแฉ ย่ำแย่มานาน แต่ไม่มีการแก้ไข (ผู้จัดการ, 24 มิ.ย. 64) อลหม่านงานศพตาวัย 85 พระกำลังสวดวงแตก เจ้าหน้าที่ขออายัดหลังพบติดโควิด (ไทยรัฐ, 5 ก.ค. 64) ศพโควิดล้น หลวงพี่ควบหน้าที่สัปเหร่อ สวดเองเผาเอง (อมรินทร์ทีวี, 14 ก.ค. 64) สลด! ดับ 3 ราย นอนตายข้างถนน-คาบ้าน รอ จนท. เก็บศพนานหลายชั่วโมง (กรุงเทพธุรกิจ, 21 ก.ค. 64) เผาจนเมรุถล่ม! วัดบางน้ำชนวอนบริจาคสร้างใหม่ (ทีเอ็นเอ็น24, 23 กรกฎาคม 64) บางส่วนของพาดหัวข่าวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกปี 2564 ของประเทศไทย ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับความตายและเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะโรคระบาด ความตายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง อย่างเช่นข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่กลายเป็นการเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลใกล้ชิด เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่ […]

เติบโตจากการใช้ชีวิตในต่าง ‘เมือง’ : คุยกับลูกเรือในวันที่ COVID-19 ทำให้ต้องหยุดบิน

15/06/2020

หากนึกดูให้ดี ‘สายการบินระหว่างประเทศ’ แท้จริงแล้วคือ ‘สายการบินระหว่างเมือง’ ไฟลท์บินระหว่างไทย – อังกฤษ ส่วนใหญ่คือ การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ – ลอนดอน เช่นเดียวกับไฟลท์บินไทย – สิงคโปร์ ย่อมไม่ใช่อะไรอื่นใดระหว่างการเชื่อมสองมหานครหลวงของทั้งสองประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาชีพบนเครื่องบินเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็น ‘บ้าน’ และ ‘เมือง’ หลายแบบ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบโดยตรงทุกประเทศทั่วโลก บางสายการบินถึงกับล้มละลาย เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายได้เข้ามา การปรับลดต้นทุนและใช้มาตราการฉุกเฉินอาจทำให้รอดจากสภาวะนี้ หากแต่เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดจะจบลงตรงไหน นับว่าเป็นอีกวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมและบุคลากรทางการบินได้เผชิญ ในขณะที่ใครหลายคนสามารถ work from home ได้ แต่ดูเหมือนว่า โอปอล์ – ศศินันท์ บุญเฉียน ลูกเรือสายการบินแห่งหนึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะเมื่อเครื่องบินบินไม่ได้ ลูกเรือก็ต้องหยุดงาน ทว่าโอปอล์ต้องประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ‘เมือง’ ที่ไม่ใช่ ‘บ้าน’ ของเธอ อย่างผู้อยู่อาศัย แม้จะมีทางเลือกให้เธอกลับ ‘บ้าน’ ได้แต่ก็มีหลายเหตุผลให้โอปอล์เลือกที่จะอยู่ที่นี่ น่าสนใจว่า มุมมองต่อ […]

How’s it going? : ฟรีแลนซ์ชาวไทยในอเมริกา กับชีวิตในเมืองที่ล็อกดาวน์มากว่า 2 เดือน

28/05/2020

มากกว่า 1,600,000 คือจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในสหรัฐอเมริกา ณ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ตอนนี้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งแสนคน โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยนิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ และแมสซาชูเซตส์ ชีวิตของชาวเมืองที่ต้องอยู่ในเมืองที่ผู้ติดเชื้อมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศจะเป็นอย่างไร? เราได้พูดคุยกับฟรีแลนซ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ‘ส้ม-กันยารัตน์ สุวรรณสุข’ ถึงการใช้ชีวิตในบอสตันในช่วงนี้ จริงๆ แล้ว ส้มบอกกับเราว่ากำลังอยู่ในช่วง gap year และมีแผนจะไปเรียนต่อ แต่ก็มีสถานการณ์โควิดเข้ามาเสียก่อน ตอนนี้เลยได้แต่เตรียมตัวไปพลางๆ และการอาศัยอยู่ในบอสตันที่ล็อกดาวน์มาแล้วกว่า 2 เดือน ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปไม่น้อยเลย ‘โอ้มายก็อด ปิดเมืองมานานขนาดนี้แล้วเหรอ’ ส้มอุทานออกมาเมื่อเราถามว่าบอสตันเริ่มล็อกดาวน์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคุยกันผ่านทางวิดีโอคอล ส้มเล่าให้เราฟังว่าจากเดิมบอสตันเป็นเมืองแห่งการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษาจากหลายชาติทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเสมอ ยิ่งในช่วงที่เริ่มจะเข้าซัมเมอร์เช่นนี้แล้ว ถ้าเป็นในปีก่อนๆ จะเริ่มเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งอเมริกัน ยุโรป รวมถึงเอเชีย ออกมาเดินเล่นรับอากาศดีๆ หลังจากหน้าหนาวผ่านพ้นไป แต่ซัมเมอร์ปีนี้เงียบเหงาและเศร้ากว่าทุกปี สถานที่ที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานถูกปิดลง จะเหลือก็แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านขายยาเท่านั้นที่ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แม้ว่าอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเมืองและรัฐที่ส้มอาศัยอยู่ ทำให้ในช่วงนี้ไม่มีรายได้เลยก็ตาม […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]

คุยเรื่องห้องเรียนในอนาคต กับ ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกเบื้องหลังแนวคิดพื้นที่เรียนรู้แบบไฮบริดในซิลิคอนแวลลีย์

27/05/2020

“ผมมองว่าหลังโควิด-19 คนในแคลิฟอร์เนียก็ยังจะกลับมาเข้าเรียนเหมือนเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือกรอบคิดของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อมต่อกับผู้คน หลัง COVID-19 แม้เมื่อมียารักษาแล้ว ผู้คนก็ยังไม่ลืมว่าเขาเคยสามารถทำงานที่บ้านได้ เคยเรียนและคุยกับคนทั้งห้องที่บ้านผ่านออนไลน์ได้ และเขาก็จะเริ่มถามว่า ทำไมเราจึงมีห้องว่างและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากมายนัก ทั้งที่บางส่วนสามารถย้ายไปอยู่ Online ได้” ยรรยง บุญ-หลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นของโควิด-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาแทบทุกประเทศอย่างฉับพลัน ทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การปรับตัวในระยะสั้นด้วยการเรียนทางไกลส่งผลให้นักเรียนและโรงเรียนต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังทำให้เกิดความปกติใหม่ ที่ทำลายแนวคิดการเรียนรู้แบบเก่าที่ผูดขาดการเรียนการสอนในระบบไว้ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั้น  The Urbanis ชวน ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกชุมชนชาวไทย ผู้เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกอเมริกัน (The American Institute of Architects) พูดคุยเรื่องการเรียนรู้ในอนาคต ทั้งรูปแบบการเรียนการสอน คุณภาพการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้แห่งอนาคต ที่ยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ปัจจุบัน ยรรยงอาศัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำงานวิจัยและออกแบบโรงเรียนของรัฐในเขตซิลิคอนแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แน่นอนว่าแนวคิดที่ยรรยงให้ความสนใจและทำการศึกษาออกแบบอยู่ อาจถูกเร่งปฏิกิริยากลายเป็นความจริงได้เร็วขึ้นเพราะวิกฤตโควิด-19 ที่สั่นสะเทือนไปทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่แวดวงทางการศึกษา เมื่อพูดถึงซิลิคอนแวลลีย์ หลายคนคิดถึงภาพศูนย์รวมของบริษัทและสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ต่างแข่งขันกันนำเสนอนวัตกรรมเปลี่ยนโลก เช่นเดียวกัน โรงเรียนในเขตซิลิคอนแวลลีย์ก็ย่อมมีความพิเศษไม่แพ้กัน ซิลิคอนแวลลีย์ การศึกษาส่วนผสมของแพลตฟอร์มการเรียนรู้เป็นอย่างไรบ้าง […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

Redesigning the Covid-19 city : 8 แนวโน้มที่เป็นไปได้

19/05/2020

การระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายเมืองที่มีสีสันพลันเงียบเหงาลง วิกฤตครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเป็นทั้งด่านหน้าและด่านสุดท้ายของการควบคุมโรคระบาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก Covid-19 ส่งผลร้ายแรงต่อบางเมืองมากกว่าเมืองอื่นและสร้างรอยร้าวขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ เพศสภาพ ชาติพันธุ์และโอกาสในชีวิต มาตรการรับมือต่างๆที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายช่วงรุ่น บางเมืองจะกลับมารุ่งเรืองและมีประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่บางเมืองจะค่อยๆ โรยราและเหี่ยวเฉาลงไป ความรุนแรงของวิกฤตในครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากวิธีการบริหารจัดการ ในโคเปนเฮเกน โซล หรือไทเป ภาครัฐเป็นผู้นำ ขณะที่ภาคประชาสังคมให้ความร่วมมือจึงสามารถจำกัดการแพร่ระบาดลงได้ Covid-19 ทำให้เราย้อนกลับไปคิดและตั้งคำถามกับสัญญาประชาคมที่แตกต่างกันในประเทศที่ยากจนและร่ำรวยเลยทีเดียว ในอนาคตเมื่อเมืองทุกเมืองผ่อนคลายและยุติมาตรการ Lockdown จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจขนาดเรียกได้ว่าเป็นการทดลองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แรงงานทั่วโลกกว่า 81% ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คนส่วนมากมีภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายแต่ไม่สามารถจ่ายได้ กระนั้น สถานการณ์เพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในระยะอันใกล้อาจมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ จนกว่าจะคิดค้นวัคซีนหรือมีวิธีการจัดการไวรัสที่ชะงัดกว่านี้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเมืองไม่สามารถ Lockdown ได้ตลอดไป ในระยะสั้น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโรค การติดตามผู้ติดเชื้อ (Digital contact tracing) และมาตรการ Social Distancing ควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ละมาตรการแปรเปลี่ยนไปตามความรุนแรงและขอบเขตการแพร่กระจายของแต่ละเมือง ยกตัวอย่างเช่น ในจีนใช้โทรศัพท์มือถือติดตามผู้ติดเชื้อโดยในแต่ละระดับความเสี่ยงมีสี (Color-coded) แตกต่างกันประกอบป้องกันไม่ให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านนอกเมืองเดินทางเข้าเมือง เป็นต้น เมืองในยุโรปหลายเมืองเริ่มคิดที่จะผ่อนปรนมาตรการ Social […]

The Education Next Gen การศึกษานอกห้องสี่เหลี่ยม ผ่านมุมมอง ดร. สรชัย กรณ์เกษม และ อ.ปรารถนา เกลียวปฏินนท์

18/05/2020

เมื่อปี 1918 หรือ 100 ปีที่แล้ว ใครจะคิดว่าห้องเรียนในช่วงที่เกิด Spanish flu กับห้องเรียนในปัจจุบันแทบไม่ได้มีหน้าตาต่างกันเลย การคิดถึงห้องเรียนกับการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ไม่สามารถสร้างได้จากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิม ห้องเรียนจะเปลี่ยนไปในรูปแบบไหนเมื่อมนุษย์มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญในยุคของการเกิดโรคระบาดอีกครั้ง  องค์กร World Economic Forum ได้พูดถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 ไว้ทั้งหมด 16 ทักษะ โดยแบ่งเป็น 3 หมวด ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องของ ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตให้เหมาะกับบริบทของโลกปัจจุบัน เช่น การคำนวณ การใช้ภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การเงิน วัฒนธรรม  ทักษะในการจัดการกับความท้าทายในชีวิต เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสื่อสาร และทักษะการรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไป เช่น ความริเริ่มสิ่งใหม่ ความพยายาม การปรับตัว ความเป็นผู้นำ โดยกระบวนการที่ใช้ในการสร้างทักษะเหล่านี้ไม่สามารถสร้างได้จากจากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิมๆ ในช่วงที่ทุกสถานศึกษาต้องหยุดชะงักลง การเรียนออนไลน์เป็นช่องทางเดียวในการแก้ปัญหาระยะสั้นตอนนี้ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ ดร. สรชัย กรณ์เกษม รองผู้อำนวยการสาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม […]

มอง COVID-19 จากอวกาศ มิติที่หลากหลายและ ร่องรอยของประวัติศาสตร์

18/05/2020

ในปี 1990 ยานอวกาศ “กาลิเลโอ” ระหว่างการเดินทางไปสำรวจดาวพฤหัส มันได้ ได้สร้างการค้นพบ “สัญญาณของสิ่งมีชีวิตที่ทรงปัญญา” เป็นครั้งแรกหลังจากการสำรวจอวกาศที่เริ่มต้นในช่วงประมาณ 1950 ดาวเคราะห์ดวงนั้นมีความไม่สมมาตรของแก๊สในชั้นบรรยากาศ บ่งบอกว่ามีการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทรงปัญญานั้นอยู่ในลักษณะของเมือง อุปกรณ์บนยานตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อันเป็นเอกลักษณ์ปล่อยออกมาจากดาวดวงนี้ และข้อมูลอีกมากมายที่ยืนยันว่าดาวดวงนี้มีสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมอาศัยอยู่ … ดาวที่ว่านั่นก็คือโลกของเราเอง .. นี่ไม่ใช่เรื่องตลกที่เราพยายามค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่เราก็รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว เหมือนถามว่าบ้านเรามีกี่ห้องนอนซึ่งเราเองก็คงรู้คำตอบดี แต่ไอเดียของ Carl Sagan นักคิดและหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคนั้นเสนอไอเดียนี้ให้แก่ NASA ด้วยแนวคิดที่ว่า “ถ้ามนุษย์ต่างดาวมาเจอโลก พวกเราจะรู้ได้ไหมว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่” อะไรคือรอยเท้าของมนุษย์ที่เห็นได้ชัดที่สุดจากอวกาศ พวกเขาใช้ประโยชน์จากยานกาลิเลโอที่ถูกปล่อยออกจากโลกในปี 1989 ให้เดินทางไปยังดาวพฤหัส ซึ่งมีกำหนดเดินทางถึงดาวพฤหัสในปี 1995 ในการเดินทางนาน 5 ปีนั้นกาลิเลโอจะมีโอกาสบินโฉบโลกทั้งสิ้น 3 ครั้ง ซึ่งเราสามารถจำลองสถานการณ์ว่ายานกาลิเลโอเป็นเทคโนโลยีจากต่างดาวที่มาสำรวจว่าโลกมีสิ่งมีชีวิตไหมจากอวกาศ การทดลองดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อเราใช้อุปกรณ์จากยานอวกาศ เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์ความยาวคลื่น, อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณวิทยุ พบว่าในการบินผ่านโลกนั้นทำให้เราเห็นข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการดูร่องรอยของความไม่สมดุลกันของแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งความไม่สมดุลและอัตราการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วนี้ ไม่อาจอธิบายได้ด้วยกระบวนการทางเคมีอย่างเดียว ทำให้เราพอเดาได้ว่าสิ่งนี้เกิดจากพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ทิ้งร่อยรอยไว้ให้เห็นได้จากอวกาศนั่นเอง ในขณะเดียวกันสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนอีกก็ได้แก่แสงจากหลอดไฟในยามค่ำคืน และการเปล่งคลื่นวิทยุต่างๆ ที่เป็นฝีมือมนุษย์ประดิษฐ์ออกมา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่บันทึกเรื่องราวของสังคมมนุษย์ไว้แม้จะมองจากอวกาศ […]

1 2 3