แผนที่โรคระบาด



เส้นทางแผนที่โรคระบาด จากยุคศตวรรษที่ 17 ถึง Big Data

20/03/2020

ในขณะที่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสกระจายตัวไปทั่วโลกและปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวลมักมากขึ้นเป็นปกติ หนึ่งในรูปแบบข้อมูลที่เราติดตามกันอย่างหนักช่วงนี้คือ แผนที่แบบ Interactive จากหลายสำนัก ที่แสดงให้เห็นว่าโรคนี้กระจายตัวอย่างไร มีที่ไหนได้รับผลกระทบบ้าง และข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะข้อมูลที่แท้จริงและเพียงพอจะช่วยให้เราไม่ตระหนกและระมัดระวังตัวได้อย่างเหมาะสม หนึ่งในตัวอย่างเด่น คือ แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นโดย  Johns Hopkins University’s Center for Systems Science and Engineering งานออกแบบสีแดงตัดดำชิ้นนี้ใช้ซอฟต์แวร์จากบริษัท Esri โดยทาง Johns Hopkins รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขของทางการจากทั่วโลกแบบเรียลไทม์ ยิ่งวงกลมสีแดงใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นแปลว่าพื้นที่ตรงนั้นมีเคสผู้ติดเชื้อเยอะ ขณะนี้ยอดรวมผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มากกว่าโรค SARS ที่ระบาดในปี 2003 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Metabiota บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ได้เพิ่มโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ลงในรายการเชื้อโรคที่ทางบริษัทติดตามอยู่กว่า 130 ตัวทั่วโลก หากเข้าไปดูในเว็บไซต์ https://www.epidemictracker.com/ จะพบว่าจุดสีส้มที่กระพริบอยู่ใช้แทนข้อมูลไวรัสที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน การทำแผนที่ลักษณะนี้เป็นเรื่องใหม่ไหม? การฉายภาพการระบาดเหล่านี้มีมาแล้วเนิ่นนาน มีความพยายามทำมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ การทำแผนที่ทางการแพทย์ก้าวหน้าและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นเพราะมีคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังเป็นตัวเร่งให้การแบ่งปันและรวบรวมข้อมูลทำได้ง่ายขึ้นด้วย เป็นเวลากว่าศตวรรษที่นักภูมิศาสตร์และสาธารณสุขใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการทำแผนที่เพื่อร่างทฤษฎีขึ้นมาว่าเพราะเหตุใดการระบาดชนิดใดชนิดหนึ่งจึงเกิดขึ้นโดยดูจากกลุ่มคนที่บาดเจ็บล้มตาย ทุกวันนี้สามารถคาดการได้ว่าการระบาดที่เกิดขึ้นจะมีวิวัฒนาการอย่างไรและสามารถกำหนดนโยบายตามข้อมูลที่คาดการณ์นี้ […]