เยาวราช



ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าไชน่าทาวน์ให้ตอบโจทย์คนหลายรุ่นโดย จุฤทธิ์ กังวานภูมิ จากกลุ่มปั้นเมือง

25/08/2021

สัมภาษณ์โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ เรียบเรียงโดย สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต หากพูดถึงย่านในกรุงเทพมหานครที่แสนเก่าแก่แต่เก๋าพอให้คนรุ่นใหม่นึกถึง เชื่อได้ว่าหนึ่งในคำตอบต้องมีย่านตลาดน้อย-ไชน่าทาวน์อยู่ในนั้น เพราะย่านนี้มีเอกลักษณ์ชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ชุมชนและตึกรามบ้านช่องที่ยังคงกลิ่นอายดั้งเดิมไว้มาก ขณะเดียวกันมีองค์ประกอบของศิลปะ งานสื่อสารสมัยใหม่ และพื้นที่การเรียนรู้แทรกอยู่เป็นจังหวะ  โจ-จุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้ที่มีสวมหมวกหลายใบ เป็นทั้งคนในพื้นที่ เป็นนักวิชาชีพด้านสถาปนิกชุมชน และ เป็นประธานชุมชน คือหนึ่งในคนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ย่านนี้มีพลวัตที่น่าสนใจตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โจขับเคลื่อนบ้านเกิดผ่านกลุ่มฟื้นฟูเมืองที่ชื่อ ปั้นเมือง แม้พื้นที่ทำงานหลักของปั้นเมืองจะอยู่ในโซนตลาดน้อย แต่เป้าหมายของทีมปั้นเมืองมองครอบคลุมทั้งย่านไชน่าทาวน์ การทำงานฟื้นฟูเมืองในย่านชุมชนเก่าที่ค่อนข้างแข็งตัวมีโจทย์เฉพาะแบบไหน ทีมปั้นเมืองเข้าหาชุมชนด้วยวิธีการใด ก้าวต่อไปของพื้นที่นี้ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis พูดคุยกับโจเพื่อหาคำตอบ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น ปั้นเมือง มีที่มาที่ไปอย่างไร            พวกเราเป็นกลุ่มสถาปนิกและนักสังคมศาสตร์ที่มีความสนใจและเป้าหมายคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะในเรื่องการฟื้นฟูเมือง ก่อนหน้านี้พวกเราเคยทำงานด้วยกันมาประมาณสัก 9-10 ปีแล้วจึงตัดสินใจตั้งเป็นกลุ่มปั้นเมืองได้ 6-7 ปี  เราเริ่มต้นจากการทำโปรเจกต์ย่านไชน่าทาวน์ แม้ตอนแรกจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละด้าน นอกจากความเชื่อที่ว่า ถ้าย่านนี้จะต้องฟื้นฟู ก็ควรจะมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน เพราะเราเริ่มเห็นประเด็นปัญหาเรื่องของเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คนที่เติบโตมาในเมืองรุ่นหลังย้ายออกจากเมืองไปอยู่ตามย่านชานเมืองมากขึ้น […]

3 ย่าน: เยาวราช/เพลินจิต/พระประแดง ในความนึกคิดของนิสิตผังเมือง

20/08/2020

ย่านแต่ละย่านต่างมีรสชาติเป็นของตัวเอง มีทั้งเรื่องราว เรื่องเล่า การออกแบบที่สะท้อนบุคลิกของผู้คนที่อาศัยอยู่ The Urbanis ชวนสำรวจ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก, เพลินจิต ย่านธุรกิจใจกลางเมือง และพระประแดง ย่านที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 คน เตรียมผูกเชือกรองเท้าให้พร้อมแล้วเดินสำรวจพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย… A neighborhood/ศุภิฌา สุวรรณลักษณ์ ว่าด้วยความเป็นย่าน ย่านเปรียบเสมือนหน่วยย่อยของพื้นที่ทางสังคมของเมือง การเกิดย่านของมนุษย์นั้นเกิดจากกระบวนการที่ประกอบสร้างขึ้นตามความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้คนในย่าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสาธารณะ แต่ทั้งนี้การจะพัฒนาเมืองไปสู่สิ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้จริงนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย หากในกระบวนการวางผังเมืองหรือการก่อสร้างตึกอาคารละเลยที่จะคำนึงถึงหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดของเมือง นั่นคือ การกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเมือง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่สำนึกของชุมชนจนถึงระดับย่านที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่านที่ดีประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และเวลาอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที๋สภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน เช่น สถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบเศรฐกิจ-สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา อาหาร เป็นต้น โดยย่านเยาวราชนั้น มีองค์ประกอบดังที่กล่าวข้างต้นที่ทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกย่านนี้สามารถที่จะรับรู้ได้ถึงการเข้าย่าน-ออกย่านหรือความเป็นย่านได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการทำให้ผู้คนมีความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงการ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของย่านเยาวราชได้อย่างชัดเจน […]