เมืองเดินดี



6 เหตุผล ที่ทำไมราชวิถีควรมี SKYWALK

30/01/2024

ย่านโยธี-ราชวิถี เป็นพื้นที่ศักยภาพในการเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์ของเมือง จากการมีโรงพยาบาล สถาบัน และหน่วยงานการแพทย์ในย่านกว่า 12 หน่วยงาน พร้อมทั้งมีผู้เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก แต่กลับมีปัญหาเรื่องการสัญจร โดยเฉพาะเรื่องการเดินเท้า เนื่องด้วยทางเท้าที่ยังไม่ได้มาตราฐาน และไม่เอื้อต่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม แล้วทำไมแค่ปรับปรุงทางเท้าถึงไม่เพียงพอ? ทำไมย่านนี้จำเป็นต้องมีทางเดินยกระดับ? ในวันนี้ The Urbanis จะมาบอกทุกท่านถึงเหตุผล 6 ข้อ ที่ทำไมราชวิถีควรมี Skywalk 1. คนเดินเยอะ ทางเท้าแคบ แต่ไม่สามารถขยายเพิ่มได้ แม้ทางเท้าราชวิถีในบางช่วงจะมีความกว้าง 3-3.5 เมตร แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้ใช้งานกว่า 120,000 คนต่อวัน สำคัญคือทางเท้าเส้นนี้ยังมีความกว้างที่ไม่สม่ำเสมอกัน โดยเฉพาะทางเท้าหน้าโรงพยาบาลพระมงกุฎ และมูลนิธิคนตาบอดที่มีความกว้างน้อยกว่า 1.5 เมตร ทั้งยังมีต้นไม้อยู่บนทางเท้าในหลายช่วง ถือเป็นอุปสรรคต่อการเดินเท้าของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย และผู้พิการทางสายตา ทั้งนี้ทางเท้าราชวิถีกลับไม่สามารถขยายเพิ่มได้ เนื่องจากถนนราชวิถีเป็นหนึ่งในถนนของเมืองที่มีค่าดัชนีรถติดมากในแต่ละวัน ความสามารถในการรองรับปริมาณรถของถนนเส้นนี้จึงถึงขีดจำกัด การขยายทางเท้าจะทำให้พื้นที่ถนนลดลงจนส่งผลให้มีรถติดมากขึ้น Skywalk จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินเท้าที่ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวถนนราชวิถีน้อยที่สุด 2. รองรับผู้ใช้งานที่จะเข้ามาในย่านมากขึ้น จากโครงการพัฒนาในอนาคต จากข้อมูลของหน่วยงานในพื้นที่ ถนนราชวิถีมีจํานวนผู้ใช้งานริม 2 ฝั่งถนน ประมาณ […]

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม: เราต้องทำการเดินให้เป็นเรื่องปกติของชีวิตประจำวัน

23/03/2021

“เราต้อง normalize การเดิน ปัจจุบันการเดินกลายเป็นเรื่องพิสดาร กลายเป็นว่าต้องไม่มีรถแล้วสิถึงต้องเดิน นี่ทำให้การเดินกลายเป็นทางเลี่ยง ทั้งที่การเดินเป็นวิถีชีวิต ในชีวิตปกติเราเดินอยู่แล้ว ”   คือบทสนทนาส่วนหนึ่งของ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) สสส. ที่เราได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนพูดคุยมุมมองเกี่ยวกับประเด็นการเดินกับภารกิจสร้างเสริมสุขภาวะ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้บริหารคนสำคัญของ สสส. และ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ซึ่งดำเนินอย่างต่อเนื่องเข้าปีที่ 8 แล้ว บทสนทนาของเราและ “คุณหมอไพโรจน์” เกิดขึ้นภายหลัง ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC-CEUS และหัวหน้าโครงการ GoodWalk นำเสนอความคืบหน้าโครงการซึ่งปัจจุบันได้ขยายผลการดำเนินงานทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองรองอย่างเป็นรูปธรรม ในการประชุมผู้อำนวยการ UddC-CEUS ยกให้ สสส. เป็น Change Agent ที่สนับสนุนกระบวนการศึกษาและกระบวนการร่วมมือในโครงการเมืองจำนวนมากทั่วประเทศ การเดินมีความสำคัญอย่างไร? การเดินสร้างเมืองสุขภาวะได้อย่างไร? ทำไมถึงต้อง […]

ทำไมเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี

14/10/2020

เมืองคือพื้นที่แห่งโอกาสที่คนจำนวนมากเข้ามาแสวงหาโชค กระโจนเข้ามาแหวกว่ายในสายพานการทำงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองและคนที่อยู่ด้านหลังให้ดีขึ้น และเมื่อคนหนาแน่นก็มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมาย โครงสร้างของเมือง ผังเมืองจึงส่งผลอีกหลากมิติต่อเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิต ผศ.ดร นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้ร่วมสะท้อนมุมมองในงาน BOT SYMPOSIUM 2020 ในหัวข้อใหญ่ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง – Restructuring the Thai Economy ในงานวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา โดยผศ.ดร. นิรมล เสนอว่าการเดินดีในเมืองนอกจากจะกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต แล้วยังกระตุ้นเศรษฐกิจให้ไหลเวียนด้วย ยิ่งกับชุมชนและย่านโดยรอบ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ แถมยังทำให้ “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” เพราะเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี “งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่ายิ่งเคลื่อนที่ช้า ยิ่งมีโอกาสในการบริโภคมาก ลองหลับตาจินตนาการถึงความเร็วของการเดินของคนด้วยความเร็ว 3-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือการเดินกับเมืองที่คนเคลื่อนที่ 80-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือรถยนต์ โอกาสในการที่จะแวะพัก ความสะดวกที่จะหยุดจับจ่ายใช้สอยมันแตกต่างกันมาก เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นว่าเมืองทั่วโลกลงทุน (invest, reinvest) กับทางเท้า เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งโดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง หรือว่าเป็นเมืองแบบนี้ที่ต่อแรก (first mile) […]

กรุงเทพฯ ในมุมที่ช้าลง ของคนวิ่ง City Run ส่งกาแฟ กรีฑา รัตนโพธิ

20/07/2020

ถ้าเข้าไปดูในเฟซบุ๊คส่วนตัวของ กรีฑา รัตนโพธิ จะเจอข้อความที่คล้ายเป็นม็อตโต้ของเขาอย่าง “เดินให้ช้าลง ชีวิตมีสุขมากขึ้น” แนวคิดของข้อความนี้หลายคนคงเห็นด้วยว่ามันฟังดูดี แต่คำถามคือ มีใครบ้างที่ลงมือปฏิบัติ ทำชีวิตตัวเองให้ช้าลง และได้รับความสุขที่เพิ่มขึ้นจริงๆ กรีฑาไม่ได้แปะข้อความไว้เท่ๆ อย่างเดียว แต่เขาลงมือทำให้ชีวิตช้าลง ด้วยการลาออกจากงานประจำที่ทำมายี่สิบกว่าปี เพราะความอิ่มตัวและชีวิตที่คร่ำเครียดจนเกือบส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และออกมาเป็นคนคั่วเมล็ดกาแฟด้วยมือขายภายใต้แบรนด์ “กม กาแฟ” กรีฑาไม่มีชื่อเล่น เขามีชื่อที่เข้ากับกีฬาวิ่งนี้มาตั้งแต่เกิด ก่อนที่จะเริ่มวิ่งเมื่อประมาณ 6 ปีก่อน และขยับมาวิ่งซิตี้รันครั้นเมื่อเห็นว่าไหนก็ต้องไปส่งกาแฟให้ลูกค้าอยู่แล้ว ก็เลยวิ่งซิตี้รันไปส่งกาแฟให้ลูกค้าเสียเลย จนกระทั่งทุกวันนี้กลายเป็นกิจวัตร ที่เหมือนเป็นทั้งการทำงานและการพักผ่อนไปในตัว การวิ่งซิตี้รันก็คือการทำชีวิตให้ช้าลงอีกอย่างหนึ่งของกรีฑา เพราะมันทำให้เขาได้เห็นเมืองอย่างกรุงเทพฯ ในอีกมุมหนึ่ง ที่วิถีของการเดินทางปกติไม่อาจเห็น และยังนำความรื่นรมย์มาให้ชีวิต เรามาทำความรู้จักเมืองในอีกมุมมอง ผ่านชีวิตที่เคลื่อนไปช้าๆ ของผู้ชายคนนี้กัน ประสบการณ์การวิ่งซิตี้รันครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้าง ผมเริ่มวิ่งมาประมาณ 6 ปี เริ่มจากวิ่งในสวน ขยับมาวิ่งงานซึ่งปีแรกก็เบื่อแล้ว ขี้เกียจตื่นเช้าเกินไปเลยวิ่งบนถนนเสียเลย ผมวิ่งซิตี้รันมาน่าจะประมาณ 5 ปีแล้ว วิ่งซิตี้รันครั้งแรกไม่ประทับใจเลย อย่างแรกคือควัน ฝุ่น สภาพฟุตบาท ผมวิ่งจากบ้านแถวจรัญสนิทวงศ์ ข้ามสะพานซังฮี้ไปวชิระ เลี้ยววนกลับ ได้ประมาณ 5 […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

กรุงเทพฯ: เมืองใหญ่ ถนนน้อย ทางเท้าด้อยคุณภาพ

01/11/2019

กรุงเทพฯ เมืองโตเดี่ยวตลอดกาลของประเทศไทยและจะยังคงเป็นเฉกเช่นนี้ไปอีกนาน ด้วยขนาดของเมืองในระดับมหานคร (Mega Cities) ที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยกว่า 10 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของคนทั้งประเทศ ไม่แปลกที่กรุงเทพฯ จะมีความพลุกพล่านของผู้คนและการสัญจร เคยมีผลการสำรวจคนกรุงเทพฯ เรื่องของการใช้เวลาในการเดินทางพบว่า เราใช้เวลาอยู่ในรถนานกว่า 800 ชั่วโมงต่อปี (1 เดือนต่อปี) หรือคิดเป็นกว่า 1 ปี ในรอบ 12 ปี และนี่คือ ผลของการจราจรที่ติดขัดและเป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของยอดจดทะเบียนรถยนต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 350,000 คัน แต่ทว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมากรุงเทพฯ แทบไม่มีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นเลย การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับรถยนต์มากกว่าการเดินเท้าทำให้เรามีทางสัญจรน้อยเช่นนี้คงไม่ใช่ทางออกที่ดีของเมืองกรุงเทพฯ แน่ๆ เพราะฉะนั้น “การสร้างเมืองให้เดินได้-เดินดี” คือคำตอบ!!! สัดส่วนพื้นที่ถนน คือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพเมือง มาตรฐานเมืองที่ดีซึ่งจะทำให้เกิดการจราจรที่สะดวกและไม่เกิดปัญหารถติด เราเชื่อว่าต้องมีสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20-25 หลายเมืองจึงใช้เกณฑ์มาตรฐานของสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองเป็นตัวชี้วัดคุณภาพเมืองด้านโครงสร้างสัณฐานเมือง เพราะนอกจากถนนจะเป็นพื้นที่สำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์แล้ว พื้นที่ถนนในที่นี้ยังหมายรวมถึงพื้นที่ในส่วนเขตทางทั้งหมด อันประกอบไปด้วยพื้นผิวจราจรและพื้นผิวทางเท้า […]

เมื่อการเดินกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

01/11/2019

เบรนท์ ชเลนเดอร์ เคยเขียนเรื่องราวของ สตีฟ จอบส์ ตีพิมพ์ลงใน Fortune และ The Wall Street Journal เป็นเรื่องราวที่เปิดเผยเบื้องหลังพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมายในนาม “แอปเปิล” พฤติกรรมที่ว่าไม่ใช่เรื่องซับซ้อน หรือลึกลับใดๆ แต่เป็นเรื่องพื้นฐานของพวกเราทุกคน พฤติกรรมที่ว่าคือ – การเดิน เขาเล่าว่า สตีฟ จอบส์ เชิญเขาไปที่บ้านและสร้างบทสนทนาด้วยการเดินคุยกัน สอดคล้องกับที่หลายๆ คนรอบตัวของศาสดาแห่งแอปเปิลผู้นี้ บอกว่า เขามักเชิญให้ทีมงานระดมความคิดใหม่ๆ ด้วยการเดินรอบๆ แอปเปิลแคมปัส เดินไป คุยไป เพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เมื่อพูดถึงการเดินและความคิดสร้างสรรค์ก็ชวนให้คิดถึง แมริลี ออพเพซโซ่ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ เธอเคยขึ้นเวที TED Talk ในหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือ อยากมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเหรอ? ออกไปเดินสิ! แมริลี […]