ศิลปะ



สร้าง ‘เมือง’ เพื่อสร้าง ‘หนัง’ … ศิลปะสุดทะเยอทะยานหรืออีกหนึ่งเผด็จการในโซเวียตรัสเซีย?

22/05/2020

บ่อยครั้งที่ ‘เมือง’ (Urban) หรือแม้แต่ ‘ความเป็นเมือง’ (Urbanization) มักถูกนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์ในฐานะของ ‘ฉากหลัง’ ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องเล่าให้ออกมาเปี่ยมเสน่ห์จนสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ ทว่าไม่บ่อยนักที่พวกมันจะถูกก่อร่างสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเฉพาะในฐานะของอีกหนึ่ง ‘ตัวละคร’ ที่มีความสำคัญต่อการเล่าเรื่องไม่แพ้บรรดาตัวละครมนุษย์ กรณีศึกษาที่โดดเด่นที่สุดแห่งยุคสมัยคงหนีไม่พ้น DAU โปรเจ็กต์หนังศิลปะสุดทะเยอทะยานที่ผู้กำกับชาวรัสเซียอย่าง อีล์ยา คาร์ซานอฟสกี (Ilya Khrzhanovsky) ลงทุนปลูกสร้างฉาก ‘สถาบัน’ (The Institute) อันเป็นภาพแทนของสังคมเผด็จการสหภาพโซเวียตระหว่างยุค 30-60 บนโลเคชั่นถ่ายทำขนาดใหญ่ในยูเครน รวมถึงใช้เวลาปลุกปั้นผลงานภายใต้กฎกองถ่ายอันแสนเข้มงวดเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ! ที่สำคัญ, ตัวหนังและวิธีการ ‘สร้างเมือง’ ของคนทำหนังอย่างคาร์ซานอฟสกียังนำเราไปสู่ประเด็นถกเถียงทางสังคมอันเผ็ดร้อน ทั้งการตั้งคำถามถึงจริยธรรมการทำงาน และการส่องสังเกตพฤติกรรมเผด็จการของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยลับอันน่าเกรงขามที่มีขนาดเทียบเท่าเมืองจริงๆ รวมถึงความเป็นเมืองที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในกองถ่าย DAU จึงก้าวไปไกลกว่าการเป็น ‘แค่ฉากหลัง’ ดาษดื่นในหนังทั่วไป และกลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าศึกษาต่อยอดในหลากหลายมิติอย่างไม่ต้องสงสัย  1 ในแวดวงนักดูหนัง คาร์ซานอฟสกีคือคนทำหนังที่ถูกพะยี่ห้อด้วยคำว่า ‘เฮี้ยน’ มาตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกอย่าง 4 เมื่อปี 2004 สืบเนื่องจากพล็อตที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่านอันเกี่ยวพันกับหนุ่มสาวสี่คนในบาร์เหล้า แผนการโคลนนิ่งมนุษย์ และรัฐบาลอันไม่น่าไว้วางใจของ วลาดิเมียร์ ปูติน […]

ART SPACE กระจกสะท้อนความสำคัญของศิลปะในมุม อุทิศ เหมะมูล

06/01/2020

ปกติ ‘อุทิศ เหมะมูล’ เป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนมือดีเจ้าของผลงานวรรณกรรมเปี่ยมคุณภาพหลายเล่มโดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง ‘ลับแล, แก่งคอย’ ที่ส่งให้เขาได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2552 และในปี พ.ศ. 2561 เขาก็ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ จากความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15  ปี แต่หลังจากอุทิศลุกขึ้นมาจัดแสดงนิทรรศการ ‘ภาพร่างของปรารถนา’ ที่รวมผลงานจิตรกรรมของ ‘เข้าสิง’ ตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง ‘ร่างของปรารถนา’ มาจัดแสดง พร้อมกับเปลี่ยนเรื่องราวบนหน้ากระดาษไปสู่ละครเวที ‘ปรารถนา : ภาพเหมือนการเข้าสิง’ ซึ่งเป็นการร่วมงานกับ ‘โทชิกิ โอคาดะ’ (Toshiki Okada) ผู้กำกับละครเวทีชื่อดังชาวญี่ปุ่น และออกตะเวนแสดงไปทั่วโลก ทั้งกรุงเทพฯ โตเกียว และปารีส ชื่อของ ‘อุทิศ เหมะมูล’ ก็ถูกพูดถึงในฐานะ ‘ศิลปิน’ ที่ทำงานศิลปะขนานกันไปกับงานวรรณกรรม  ผลงานครั้งนั้นไม่เพียงแค่พิสูจน์ว่าอุทิศยังคงมีฝีไม้ลายมือด้านศิลปะ แต่เป็นใบเบิกที่บอกว่าเขาหวนกลับมาทำงานศาสตร์นี้เต็มตัวหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรหรือเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว   หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นผลงานของเขาอีกครั้งในนิทรรศการ ‘ความสุขของแสง The Light of […]

Wonderfruit Festival ดนตรี ศิลปะ ความยั่งยืน และเมืองในอุดมคติของพีท-ประณิธาน และ เจ-มณฑล

30/12/2019

‘วันเดอร์ฟรุตไม่ใช่แค่เทศกาลดนตรี แต่เป็นเทศกาลศิลปะ’ พีท-ประณิธาน พรประภา และ เจ-มณฑล จิรา ผู้ก่อตั้งทั้งสองของงานวันเดอร์ฟรุตได้กล่าวไว้ เมื่อเราค้นหาคำว่า “Wonderfruit Festival” ภาพผู้คนแต่งตัวจัดๆ สีสันฉูดฉาด หลากหลายสไตล์โผล่ขึ้นมาในหน้าอินเทอร์เน็ตมากมาย แต่ไม่ใช่แค่ดนตรี ศิลปะ การแต่งตัวเท่านั้น จากที่ผ่านๆ มา Wonderfruit Festival เป็นงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาตลอด และปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ pop-up city ซึ่งจะใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ใช้เวลาขับรถประมาณครึ่งชั่วโมงจากพัทยากลาง ถนนคดเคี้ยวก็พาเรามาถึงสถานที่จัดงานวันเดอร์ฟรุต พื้นดินลูกรังฝุ่นตลบจนต้องมีรถคอยฉีดน้ำลงพื้น เป็นสัญญาณบอกว่าเราอยู่ห่างจากตัวเมืองพอสมควร ยิ่งเข้าไปใกล้กับบริเวณงาน ยิ่งเหมือนเราหลุดเข้าไปอยู่ใน ‘อีกเมืองหนึ่ง’ เมื่อเดินผ่านโครงสร้างไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยผ้าหลากหลายสีสัน มีตัวอักษรเขียนว่า ‘WONDERFRUIT’ ซึ่งเป็นประตูทางเข้าหลักของงาน บรรยากาศโดยรอบก็ครึกครื้นไปด้วยผู้คน เคล้าคลอเสียงเพลงหลากหลายแนวจากหลายเวที ซุ้มอาหารที่มีอยู่รายรอบ ไม่ต้องกลัวว่าจะท้องร้อง มีซุ้มเวิร์คช็อปศิลปะที่น่าสนใจมากมาย มีจุดให้นั่งพักผ่อน มีโต๊ะ เก้าอี้ ไปจนถึงเปลที่ผูกอยู่กับต้นไม้ใหญ่ หรือกระทั่งศาลาพักผ่อนกลางน้ำ นอกจากส่วนหลักๆ เหล่านั้นแล้ว เราแอบสังเกตถึงเรื่อง Sustainability ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของงาน รอบงานมีถังขยะที่แยกเป็นส่วนๆ ทั้งขยะรีไซเคิล […]