ระบบขนส่ง



โบกมือลารถรา Net City ออกแบบเมืองใหม่ในเซินเจิ้นให้คนเดินถนนเป็นศูนย์กลาง

07/08/2020

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอกผิดกับบ้านนอกตั้งหลายศอก หลายวารถราแล่นกันวุ่นวายมากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา” เพลงโอ้โฮบางกอกเป็นอีกหนึ่งเพลงที่สะท้อนอิทธิพลของรถยนต์ในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี ในอดีตรถหรือถนนอาจจะเป็นหลักฐานของความเจริญที่เข้ามาถึง แต่ปัจจุบันและอนาคตอาจไม่ใช่อีกต่อไป หลายประเทศเริ่มออกแบบให้เมืองปราศจากถนนขนาดใหญ่ จำกัดจำนวนรถยนต์ด้วยเหตุผลทั้งทางสิ่งแวดล้อม และเหตุผลเรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เหมือนอย่าง Net City เมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเซินเจิ้นที่ออกแบบให้คนเดินถนนและนักปั่นจักรยานเป็นศูนย์กลางของเมือง เนื้อที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร ส่วนหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น หนึ่งในมหานครชื่อดังของโลกถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทั้งที่ตั้งสำนักงานของ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ในจีน ผู้อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชัน Wechat และบริการรับ-ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตอย่าง QQ รวมไปถึงออกแบบให้มีที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เพื่อรองรับคนกว่า 80,000 คน โดยปกติในหลายเมืองใหญ่ พื้นที่มากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไปกับถนนและลานจอดรถยนต์ แต่โจนาธาน วาร์ด พาร์ตเนอร์ผู้ออกแบบจาก NBBJ บริษัทที่ชนะการแข่งขันบอกเล่าว่าเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน เต็มไปด้วยสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวที่คนสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายขึ้น และยังเป็นแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงมรสุม  สำหรับคอนเซปต์พื้นฐานการจำกัดการจราจรในท้องถนนที่จะหยิบมาใช้ในการออกแบบนั้นคล้ายกับซูเปอร์บล็อกในเมืองบาร์เซโลนา “ถ้าคุณแยกส่วนมันจะมองเป็น 6 บล็อก แต่ละบล็อกจะล้อมไปด้วยถนนใหญ่อย่างที่คุณจะเห็นเป็นปกติในเซินเจิ้น แต่พวกเราจะรวมทั้ง 6 บล็อกเข้าด้วยกันเพื่อให้มีพื้นที่ถนนใหญ่เฉพาะรอบนอก ส่วนถนนด้านในจะเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินแทน” วาร์ดบอกเล่าว่าตึกยังคงสามารถเขาถึงโดยรถยนต์ในรอบนอก ส่วนที่จอดรถจะอยู่ใต้ใต้ดิน ทำให้การขับรถไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ใหม่แห่งนวัตกรรมและพื้นที่แห่งความสุขเพื่อใช้ชีวิตและทำงาน “สิ่งหนึ่งที่จะต้องจำกัดคือจำนวนของรถยนต์” […]

วินของคนเมือง ฟันเฟืองที่ขาดไม่ได้

21/07/2020

ภาพ : พี่เขียว (วินมอเตอร์ไซค์) หากเปรียบเมืองเป็นเครื่องจักรใหญ่ๆ สักเครื่อง ระบบขนส่งมวลชนก็คงเป็นฟันเฟืองที่ทำให้คนเมืองสามารถไปทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย ด้วยผังเมืองที่ไม่ได้ออกแบบให้เราเดินทางได้สะดวกนัก ผู้ช่วยที่ดีที่สุดในยามที่เราต้องเข้าซอยลึกหรือรีบเร่งไปทำงานคงจะหนีไม่พ้น “พี่วินมอเตอร์ไซค์” ที่จะยืนรอผู้โดยสารประจำจุดเดิมในทุกๆ วัน บทบาทของวินมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เพียงขับรถรับ – ส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่วินบางคนยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการช่วยจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จนไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยความไว้ใจด้วย ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่หาไม่ได้ในขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่วินมอเตอร์ไซค์จะได้ใจคนเมือง ชวนคุยและดูภาพถ่ายของ ‘พี่เขียว’ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ทำอาชีพนี้ด้วยหัวใจมายาวนานนับ 10 ปี ตั้งแต่ประสบการณ์ชีวิต มุมมองต่อการทำงาน ไปจนถึงเปิดอกคุยปัญหาและตอบทุกข้อสงสัย  ผลกระทบจากโควิดที่วินมอเตอร์ไซค์ได้เจอ / ทำไมวินต้องมีปัญหากับคนขับบริษัทขนส่งเอกชน / โดนผู้โดยสารผู้ชายคุกคามทางเพศทำอย่างไรได้บ้าง / ชอบชวนคุยตอนขับรถแล้วได้ยินเสียงลูกค้าไหม ฯลฯ ชื่อ : พี่เขียวอายุ : 37 ปีอาชีพ : มอเตอร์ไซค์รับจ้างประสบการณ์ : 10 ปี ตารางประจำวัน5:30 น. รับลูกค้าประจำเจ้าแรก6:00 – 7:00 […]

FOOD DELIVERY : รัก Food เท่าฟ้า

16/06/2020

ธุรกิจ Delivery ในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2532 โดยบริษัท ไมเนอร์ ฟู๊ด กรุ๊ป และหลังจากนั้นก็มีการเปิดตัวการให้บริการผ่านคอลเซ็นเตอร์และเว็บไซต์เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2540 และ 2550 ตามลำดับ โดยภาพจำในอดีตของการส่งสินค้าเดลิเวอรี่นั้นก็มักจะเป็นอาหารประเภทพิซซ่าหรือไก่ทอดเจ้าดังที่ปรากฏขึ้นบ่อยครั้งทางโฆษณาโทรทัศน์ แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมากขึ้น ทำให้ธุรกิจประเภท Delivery นี้สามารถเข้าถึงร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และไม่มีขีดจำกัดด้านขนาดของร้านค้าอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะมีร้านขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือแม้แต่ไม่มีหน้าร้านสำหรับนั่งทานอาหาร คุณก็ยังคงสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือของลูกค้าได้อยู่ตลอดเวลา ในช่วงของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้คนส่วนใหญ่จำต้องทำงานแบบ work from home ร้านอาหารก็งดการนั่งรับประทานที่ร้าน และท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวของเดือนเมษายนทำให้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Food Delivery กลายมาเป็นทางเลือกที่สำคัญและอาจจะจำเป็นอย่างมากสำหรับใครหลาย ๆ คน  วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับ คุณธนกฤต, คุณวีระ, คุณอมรพล และคุณพิยดา กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับรถรับส่งอาหารในกรุงเทพมหานครกันว่า ในแต่ละวันที่ต้อง Work from everywhere นั้นการทำงานและวิถีชีวิตของแต่ละคนเป็นเปลี่ยนไปแค่ไหนและเป็นอย่างไรกันบ้าง (ในบทสัมภาษณ์นี้ทางผู้สัมภาษณ์ขออนุญาตใช้นามสมมติเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์) ทำ Food  Delivery มานานหรือยัง ? ธนกฤต : “เพิ่งเริ่มทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้วครับ ปกติทำตัดต่อกับโปรดิวเซอร์ที่โปรดักชั่น เฮ้าส์ […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

อากาศยานไร้คนขับ จากภารกิจช่วยผืนป่าสู่อนาคตขนส่งช่วยคนเมือง

18/05/2020

ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวการถ่ายภาพมุมสูงบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ถึงแม้จะมีการออกมาชี้แจงว่าเป็นการขอความร่วมมือให้ส่งภาพเฉพาะหน่วยงานเฉพาะกิจเท่านั้นด้วยหลายๆ เหตุผลที่มิอาจทราบได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง   ก่อนอื่นต้องยอมรับและทำความเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ โดรน (Drone) ถูกพัฒนาและใช้ในต่างประเทศโดยเฉพาะกิจการทางทหารมานานแล้ว นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการใช้อากาศยานไร้คนขับในการโจมตีแต่ยังต้องพึ่งพาการบังคับจากมนุษย์ จนมาถึงปัจจุบันที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในการควบคุมการบินได้ โดยมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตรไปจนถึง 50 เมตร ต่อมาโดรนที่ถูกใช้ในพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กและนำมาใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การสำรวจพันธุ์สัตว์ป่า การลักลอบตัดไม้ การทำแผนที่ และแน่นอนการทำแผนที่ไฟป่าและการดับไฟป่าก็เป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์อย่างในกรณีของทางภาคเหนือนั่นเอง เนื่องจากโดรนสามารถถ่ายภาพมุมสูง ช่วยในการรับรู้ทิศทางของไฟ และความเสียหายของขนาดวงไฟที่กำลังเกิดขึ้น และสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดรน กับโอกาส ที่อาจจะปลดล็อกได้ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทั้งของเล่นและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพประกอบแต่เนื่องด้วยคุณลักษณะในการบินเหนือพื้นดิน โดรนจึงจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับการใช้งานเพราะอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การสอดแนม การติดอาวุธ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตามกฎหมายแล้ว โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม และมีกล้องต้องขึ้นทะเบียน และหากมีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม  การใช้อากาศยานไร้คนขับยังมีข้อกำหนดที่ศึกษาอีกข้อคือ เขตห้ามบิน […]