ย่าน



ภาพย่านเก่าในโลกยุคใหม่ ผ่านสายตาของ ‘เฮียเสก’ เจ้าของตำรับขนมจีบต้มแห่งย่านกะดีจีน-คลองสาน

06/10/2020

            สำหรับคนยุคนี้คงเป็นเรื่องยากจะจินตนาการถึงการอยู่อาศัยในพื้นที่สักที่นานหลายสิบปี แต่ถ้าย้อนมองกลับไป จะพบว่าในสังคมเรายังมีคน ‘อยู่ติดที่’ ในความหมายว่าทั้งผูกพันกับสถานที่และมีวิถีชีวิตสอดคล้องกับตำแหน่งแห่งที่ที่พวกเขาใช้ชีวิตมาตั้งแต่เกิด คุณเสก หรือเฮียเสก-นัทธวัฒน์ กิตติวณิชพันธุ์ ของคนย่านกะดีจีนคือหนึ่งในนั้น ด้วยเขาเติบโตในครอบครัวชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว ในบ้านไม้หลังกะทัดรัดติดกับวัดกัลยาณ์ที่เปลี่ยนด้านล่างเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวเป็ดรสเด็ด ครอบครัวที่ถ่ายทอดสูตรความอร่อยให้เขาจนกลายมาเป็นอาชีพทุกวันนี้             ปัจจุบันเฮียเสกเป็นเจ้าของกิจการ ‘ขนมจีบต้มเฮียเสก’ ขนมจีบต้มเจ้าแรกในประเทศไทย เนื่องจากสูตรที่ใช้นั้นเป็นสูตรประจำตระกูลของเขาเอง “จริงๆ มันเป็นสูตรที่ครอบครัวทำกินกันมานานแล้ว เป็นขนมจีบต้มเนื้อแน่นๆ ที่ไส้จะรสจัดจ้านหน่อย เป็นตำรับของชาวแต้จิ๋ว แต่เราก็เอามาปรับสูตรให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น พอทำกินกันในบ้านบ่อยเข้า ก็เริ่มอยากลองขาย สุดท้ายก็กลายเป็นกิจการครอบครัวมาจนวันนี้” และไม่ใช่เพียงกิจการธรรมดา แต่เรียกว่าเป็นกิจการหนึ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของย่าน กะดีจีน-คลองสาน ก็ว่าได้ เพราะนอกจากขนมจีบต้มสูตรเฮียเสกจะโด่งดังขนาดต้องโทรสั่งจอง ขนมจีบต้มเจ้านี้ยังช่วยทำให้เรารู้จักย่านนี้ได้อย่างลึกซึ้งขึ้นด้วย             “เมื่อก่อนย่านนี้ของกินเยอะกว่านี้มาก ยิ่งในยุคที่ยังไม่ตัดถนนจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือมาขายกับข้าวกับปลาในคลองกันเต็มไปหมด บนทางเท้าก็มีคนหาบของขาย มีอาหารให้เลือกไม่หวาดไม่ไหว” เขาย้อนความหลังให้เราฟังทั้งรอยยิ้ม ก่อนเล่าประสบการณ์สมัยวัยเด็กเมื่อครั้งยังอาศัยอยู่ในบ้านไม้ใกล้วัดกัลยาณ์ให้ฟังว่า ละแวกท่าน้ำหน้าวัดกัลยาณ์เป็นแหล่ง ‘มะม่วงอร่อย’ อย่างที่บางคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน “สัก 40-50 ปีก่อน ถ้าใครอยากกินมะม่วงอร่อยต้องมาแถววัดกัลยาณ์ ช่วงฤดูมะม่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์จะมีเรือล่องมาจากดำเนินสะดวก จอดขายมะม่วงบริเวณปากคลองบางหลวงกันเป็นร้อยลำ เพราะเมื่อก่อนไม่มีตลาดผักผลไม้ใหญ่ เหมือนทุกวันนี้ เป็นอันรู้กันว่าใครอยากกินมะม่วงต้องมารอซื้อแถวหน้าวัดกัลยาณ์” เฮียเสกเล่าเรื่อยๆ ระหว่างชวนให้เราชิมขนมจีบต้มตำรับประจำบ้าน ก่อนเสริมถึงบรรยากาศของย่านในวันวานให้เราฟังอย่างออกรสไม่แพ้กัน […]

เมือง เปลี่ยน ย่าน ? ย่านจะอยู่อย่างไร เมื่อคนรอบข้างเปลี่ยนไป : ชวนพูดคุยกับ ธีรนันท์ ช่วงพิชิต

01/09/2020

ในยุคสมัยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์มากขึ้น เป็นเหมือนหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเดินทาง การติดต่อสื่อสารและการอยู่อาศัย แต่ในขณะเดียวกันตัวแปรสำคัญนี้ก็ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนให้เปลี่ยนไปจากเดิม จากชุมชนเล็กๆ กลายมาเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ลองตั้งคำถามดูว่าย่านชุมชนเก่าแก่ จะสามารถรักษามรดกวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กับการยกระดับย่านได้หรือไม่ และจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรเพื่อไม่ให้ถูกกลืนกิน วันนี้จะชวนพูดคุยกับ คุณธีรนันท์ ช่วงพิชิต ผู้ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรีและประธานมูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน หนึ่งในผู้ผลักดันเพื่อการพัฒนาย่านควบคู่ไปกับรักษามรดกวัฒนธรรมของชุมชนเก่าแก่ใน กรุงเทพมหานคร คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฝั่งพระนครกับกรุงเทพฝั่งธนฯ ในแง่ของ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ ตึกรามบ้านช่อง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ “เบื้องต้นต้องทำความเข้าใจบริบททางสังคมศาสตร์ให้ได้ก่อนว่าไม่ใช่ฝั่งธนฯ คือฝั่งตะวันตก พระนครคือฝั่งตะวันออก อันนี้เราเข้าใจผิดทันที ประวัติศาสตร์จริงๆ คือ สังคมกับวัฒนธรรมทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นวัฒนธรรมชุดเดียวกัน แต่ช่วงระยะเวลามันจะเหลื่อมกันประมาณ 15 ปี ในช่วงของ พ.ศ.2310-2325 เป็นเวลาของกรุงธนบุรี แต่ในขณะเดียวกันเวลาของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่เราเรียกกันว่าบางกอกก็คือ ปี 2325 จนถึงแง่ใดแง่หนึ่งมันจะเป็นการใช้พื้นที่ที่ทับซ้อนกันอยู่ “ธนบุรีเป็นเมืองทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เราเรียกว่าเมืองอกแตก จึงไม่ใช่เมืองฝั่งตะวันตก ถ้าเรียกว่าเมืองอกแตกแล้วเรียกฝั่งธนฯ เป็นฝั่งตะวันตกแสดงว่าผิด เพราะมันคือทั้งสองฝั่ง กรุงเทพฯ คือเมืองที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกภายหลัง ฉะนั้นการใช้ประวัติศาสตร์ลักษณะนี้จะทำให้เราเข้าใจถึงเรื่องของมิติทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เราเข้าใจตัวตนเรามากขึ้นว่าเป็นเมืองที่มีทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา” ในแง่ของวิถีชีวิต การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดจากการชะลอประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่เกิดจากความเจริญทางกายภาพที่เข้ามาไม่ถึงในช่วง […]

ทรงจำในย่านกะดีจีน-คลองสานของวีรพร นิติประภา

25/08/2020

ผมสีดอกเดา ชุดดำ และปากแดง เอกลักษณ์ของวีรพร นิติประภา นักเขียนหญิงดับเบิ้ลซีไรต์ จากนิยาย ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ ในปีพ.ศ. 2558 และเรื่อง ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ ในปีพ.ศ. 2561 ในผลงานเรื่องหลังเธอบอกเล่าเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลบนแผ่นดินสยามที่ต้องดิ้นรน ขยับขยายสถานะผ่านความไม่แน่นอนทั้งทางการเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งกว่าจะทำคลอดผลงานชิ้นนี้ เธอเดินย่ำพื้นที่ชุมชนย่านเก่าที่มีประวัติอันยาวนานจนผูกพันและนำไปสู่บทบาทการเป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลปวัฒนธรรมให้กับเทศกาลศิลป์ในซอยครั้งที่ 6 ‘กะดีจีน-คลองสาน ย่านรมณีย์ วิถีเจ้าพระยาในพยับแสง-สี-ศิลป์’ หนึ่งในโปรเจ็กต์ที่ช่วยอนุรักษ์และคืนชีวิตชีวาแก่ชุมชน แสงแดดเริ่มแยงตา เวลาเริ่มสาย เธอใช้เวลาวันอังคารวันหนึ่งในการบอกเล่า“ความงดงามของย่านกะดีจีนคลองสาน” ที่เคยพานพบ ในห้องเรียนวิชาสตูดิโอวางผังชุมชน (NEIGHBORHOOD PLANNING STUDIO) ของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนี่คือ ทรงจำในย่านกะดีจีน-คลองสานของวีรพร นิติประภา เมืองฉากหลังของนิยายสำคัญกับเนื้อเรื่องอย่างไร “เวลาเราเขียนนิยายเราไม่ได้ทำอะไร เราแค่ visualize คอนเซปต์ขึ้นมา เพราฉะนั้นพี่ถึงบอกว่าเราต้องมาเดินตามย่าน ตอนที่ทำเรื่องไส้เดือนตาบอดในเขาวงกตก็ต้องไปที่แม่น้ำนครชัยศรี ตอนที่มาย่าน มาเพื่อที่เราจะ shape ตัวละครมากกว่า ถ้าคุณไม่ไปเดินคุณจะนึกไม่ออกเลยว่าเขาอยู่กันยังไง ห้าโมงเย็นบานเฟี้ยมไล่ปิด อันนี้คือซีนที่อยู่ในหนังสือ เรามีความรู้สึกว่าทุกอย่างมันสงบลง สี่ห้าโมงเย็นร้านใครร้านมันปิด ละแวกก็จะเงียบ ก็จะมีเด็กวิ่งเล่นนิดหน่อย เราก็ต้องจินตนาการเอา […]

3 ย่าน: เยาวราช/เพลินจิต/พระประแดง ในความนึกคิดของนิสิตผังเมือง

20/08/2020

ย่านแต่ละย่านต่างมีรสชาติเป็นของตัวเอง มีทั้งเรื่องราว เรื่องเล่า การออกแบบที่สะท้อนบุคลิกของผู้คนที่อาศัยอยู่ The Urbanis ชวนสำรวจ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก, เพลินจิต ย่านธุรกิจใจกลางเมือง และพระประแดง ย่านที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 คน เตรียมผูกเชือกรองเท้าให้พร้อมแล้วเดินสำรวจพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย… A neighborhood/ศุภิฌา สุวรรณลักษณ์ ว่าด้วยความเป็นย่าน ย่านเปรียบเสมือนหน่วยย่อยของพื้นที่ทางสังคมของเมือง การเกิดย่านของมนุษย์นั้นเกิดจากกระบวนการที่ประกอบสร้างขึ้นตามความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้คนในย่าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสาธารณะ แต่ทั้งนี้การจะพัฒนาเมืองไปสู่สิ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้จริงนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย หากในกระบวนการวางผังเมืองหรือการก่อสร้างตึกอาคารละเลยที่จะคำนึงถึงหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดของเมือง นั่นคือ การกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเมือง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่สำนึกของชุมชนจนถึงระดับย่านที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่านที่ดีประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และเวลาอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที๋สภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน เช่น สถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบเศรฐกิจ-สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา อาหาร เป็นต้น โดยย่านเยาวราชนั้น มีองค์ประกอบดังที่กล่าวข้างต้นที่ทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกย่านนี้สามารถที่จะรับรู้ได้ถึงการเข้าย่าน-ออกย่านหรือความเป็นย่านได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการทำให้ผู้คนมีความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงการ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของย่านเยาวราชได้อย่างชัดเจน […]