พลาสติก



มหาสมุทร และ หมุดหมายการพัฒนาเมือง

01/11/2019

“ใครสักกี่คนจะรู้ว่าปอดของดาวเคราะห์โลกที่มอบออกซิเจนให้กับพวกเรามากที่สุดนั้นมาจากมหาสมุทร นอกเหนือจากการเป็นแหล่งอาหาร ยาและต้นกำเนิดทางชีวภาพแล้ว” พวกเราทุกคนดำเนินชีวิตโดยไม่รู้ตัวว่าการกระทำของเรามีผลต่อความสมบูรณ์ของมหาสมุทรอย่างไรและความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรมีความสำคัญกับเราอย่างไร  เหตุใดเราถึงต้องเข้าใจอิทธิพลของมหาสมุทรที่มีต่อเราและอิทธิพลของเราต่อมหาสมุทร คนจากพื้นที่ mainland อย่างชั้น เกิดและเติบโตในเขตเมืองหลวงของกรุงเทพมหานคร หากนึกถึงการไปทะเลนั้นคือการไปเที่ยวพักผ่อน ฉันไม่มีทางรู้เลยว่าทุกการกระทำในชีวิตประจำวันส่งผลต่อสภาพของมหาสมุทรเช่นไร จนกระทั่งเกิดการรณรงค์ทั่วโลกเรื่องภาวะโลกร้อนและการลดใช้พลาสติกปรากฎขึ้นพร้อมกับภาพหลอดในรูจมูกของเต่าตัวยักษ์ ขยะส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของคนในเมือง โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล จากผลการสำรวจโดยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ปี 2558 ระบุว่า ไทยรั้งอันดับ 5 ของประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยอ้างอิงจากผลการสำรวจประเมินจากภาพรวมปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศ ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งมีจำนวนขยะประมาณ 26.85 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณขยะ จำนวน 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยมีปริมาณขยะที่ตกค้างเพราะไม่สามารถจำกัดได้ถูกวิธีประมาณ 23 % หรือประมาณ 6.22 ล้านตันต่อปี โดยชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดมีปริมาณขยะประมาณ 10 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้มีประมาณ 5 ล้านตันที่ได้รับการจัดการที่ไม่ถูกวิธี ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า ขยะที่ตกค้างจากการจำกัดขยะที่ไม่ถูกวิธีอีก10 % จะไหลลงสู่ทะเลเท่ากับขยะที่ไหลลงสู่ทะเล 50,000-60,000 ตันต่อปี ซึ่งประเมินว่าในแต่ละปีจะมีขยะพลาสติกในทะเล 50,000 […]