ประชาธิปไตย



จากการเมืองโลก ถึง วิกฤตเมืองเชียงใหม่ : มองโลกหลัง COVID-19 ผ่านสายตา ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’

30/06/2020

บทความนี้ให้สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2563 ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าปี 2020 จะเริ่มต้นด้วยการมาของไวรัส COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลก แต่อีกแง่หนึ่งวิกฤตครั้งนี้ก็เป็นเหมือนบทพิสูจน์ในการทดสอบศักยภาพที่แท้จริงของผู้นำหรือรัฐบาลแต่ละประเทศในการจัดการกับปัญหา ซึ่งก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จจนได้รับความชื่นชม และที่น่าผิดหวังจนได้รับเสียงก่นด่าจากประชาชนจำนวนมาก ไม่เพียงแค่ความเชื่อมั่นของคนในชาติที่สั่นคลอน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีรอยร้าวอยู่แล้ว ก็เด่นชัดขึ้นหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นจีนกับสหรัฐ ไต้หวันกับจีน หรือสหภาพยุโรปที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าตอบสนองต่อวิกฤตได้ไม่ค่อยดีนัก The Urbanis ชวนมองปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านการสนทนากับ ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’  Pre-Doctoral Fellow แห่งสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับดีกรีจบปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะจาก Harvard Kennedy School และกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ University of Oxford  อีกทั้งเขายังเป็นนักพัฒนากาแฟไทยที่ทำงานคลุกคลีกับชาวสวนกาแฟในภาคเหนือ จึงเห็นปัญหาของการจัดการของรัฐบาลตั้งแต่ปัญหาไฟป่าและฝุ่นละออง ไปจนถึงความบกพร่องของมาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด  บทสนทนาในวันนี้จึงว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถานการณ์การเมืองโลก ไปจนถึงปัญหาเชิงสังคมที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนและมิติของเมืองในอนาคต  COVID-19 เหมือนเป็นบททดสอบที่เผยศักยภาพการทำงานที่แท้จริงของผู้นำและรัฐบาลแต่ละประเทศออกมา สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง  ฟูอาดี้ : ประสิทธิภาพของรัฐบาลที่เมื่อก่อนพอถูๆ ไถๆ ครั้งนี้มันโดนเปิดเผยออกมา เหมือนปัญหาที่อยู่ใต้ดินโดนเอาขึ้นมาบนดินหมดเลยว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง อย่างเรื่องความสับสนในการระบุเกณฑ์อย่างเจาะจงว่า ใครควรจะได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท หรือเมื่อมีนโยบายออกมาเเล้วว่าใครที่ควรได้รับเงิน […]

ชุมนุมอย่างไรให้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย คุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ เมื่อประเทศขาดพื้นที่สาธารณะ ในการแสดงออกทางการเมือง

12/05/2020

ช่วงที่ผ่านมาคำว่า ‘ลงถนน’ ดูจะเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้น  อาจนับตั้งแต่ผลการเลือกตั้งปี 62 ถูกประกาศ จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่บวกกับความไม่พอใจในการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนเป็นการชุมนุมแบบ ‘แฟลชม็อบ’ ในหมู่นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ น่าเสียดายที่การเคลื่อนไหวครั้งนั้นต้องยุติลงเพราะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพการลงถนนที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจึงเริ่มเลือนลางไป แต่คำว่า ‘ลงถนน’ กลับมาเด่นชัดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลขาดศักยภาพในการรับมือกับ COVID-19 จนสร้างผลกระทบต่อประชาชนทุกย่อมหญ้า แม้ตอนนี้สถานการณ์ COVID-19 จะยังไม่คลี่คลาย แต่หลายฝ่ายต่างลงความเห็นตรงกันว่า ‘สิ้น COVID-19 นี้อาจเกิดการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่’   อย่างไรก็ตามการชุมนุมที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถือว่าไม่ง่ายเลย ทั้งในแง่ของการปฏิบัติและในเชิงพื้นที่ แต่จะทำอย่างไรให้การชุมนุมดำเนินไปได้ ?  หากจะมีใครสักคนให้คำตอบได้ ‘เป๋า’ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) น่าจะเป็นคนนั้น  จากประสบการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา และการทำงานภาคประชาสังคมที่หยิบจับประเด็นทางกฎหมายมาสื่อสารให้เกิดการตั้งคำถาม ไปจนถึงการทำงานรณรงค์ด้านสิทธิเสรีภาพอย่างแข็งขัน เมื่อเอ่ยถึงเรื่องกฎหมายที่พ่วงมากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทีไร ชื่อของเขามักปรากฎขึ้นมาเสมอ  บทสทนาระหว่าง The Urbanis กับ เป๋า ยิ่งชีพ ในวันนี้ จึงว่าด้วยการชุมนุมประท้วงอย่างไรให้ไม่ให้ผิดกฎหมาย พร้อมพูดคุยถึงปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมนุม […]