บ้าน



บ้านสูง เมืองต่ำ : ถอดความหนังเอเชียรางวัลออสการ์ ผ่านงานสร้าง ‘ขั้นบันได’ แบบ ‘ชนชั้นปรสิต’

06/10/2020

เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายคนคงรู้จัก หรือได้ยินชื่อภาพยนตร์ หนังแนวธริลเลอร์/ตลกร้ายสัญชาติเกาหลีใต้อย่าง Parasite (หรือ ‘ชนชั้นปรสิต’ ในบ้านเรา) ของผู้กำกับ บงจุนโฮ (Bong Joon-ho) ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญด้วยการคว้ารางวัลใหญ่สุดในสาขา ‘ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม’ ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ (Oscars หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Academy Awards) ครั้งที่ 92 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา มาครอง นับเป็นหนังจากเอเชียเรื่องแรกที่สามารถทำได้บนเวทีรางวัลชั้นนำด้านภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยถือเป็นการตอกย้ำปรากฏการณ์ความนิยมข้ามทวีปของตัวหนังอย่างสวยสดงดงาม หลังชนะรางวัล ‘ปาล์มทอง’ (Palme d’Or) อันทรงเกียรติจากเทศกาลหนังเมืองคานส์มาเมื่อกลางปี 2019 และจนถึงตอนนี้ Parasite ก็กวาดเงินจากการออกฉายทั่วโลกไปมากกว่า 266 ล้านเหรียญสหรัฐฯ! ความยอดเยี่ยมของหนังทำให้การดูซ้ำ หรือดูช้ากว่ากระแส ไม่ได้เป็นปัญหาเลย แถมยังได้เห็นอะไรใหม่ๆ เสียด้วยซ้ำ   นอกจากความสำเร็จครั้งมโหฬารของหนังร่วมทวีปเรื่องนี้จะเกิดจากฝีไม้ลายมือของทั้งผู้กำกับที่เล่าเรื่อง ‘ครอบครัวคนจนที่แฝงตัวมารับใช้ครอบครัวคนรวยเพื่อหวังปอกลอก’ ได้อย่างแยบคาย และทีมนักแสดงหลากรุ่นที่ถ่ายทอดตัวละครทุกตัวได้อย่างเปี่ยมมิติแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเสริมแรงให้ตัวหนังออกมาทรงพลังจนสามารถจับใจผู้ชมได้ในวงกว้างขนาดนี้ ก็คือ ‘งานสร้าง’ สุดปราณีตบรรจง โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ ‘บ้าน’ สำหรับตัวละครต่างครอบครัว และการออกแบบ ‘เมือง’ แวดล้อม ที่ดูจะสอดรับกับ ‘ความหมาย’ ของเรื่องเล่าใน Parasite จนแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]