ทางเท้า



ทางเท้าสุขุมวิทเป็นอย่างไร: เสียงของผู้ใช้งานทางเท้าสุขุมวิท

13/03/2024

เมืองเดินได้ทำให้เศรษฐกิจดี? งานวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศได้กล่าวถึงประโยชน์ของการพัฒนาเมืองให้เป็น “เมืองเดินได้-เดินดี” โดยนอกจากประโยชน์ทางตรงอย่างการมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว เมืองที่เอื้อให้ผู้คนเดินเท้าในชีวิตประจำวันยังส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจรายย่อย จากการเพิ่มโอกาสในการแวะจับจ่ายใช้สอยของผู้คน ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่น้อยลง ถนนสุขุมวิท เป็นหนึ่งในถนนเศรษฐกิจสายหลักของประเทศไทย อย่างไรตาม ถึงแม้ว่าบริเวณแกนถนนสุขุมวิทจะเป็นที่ตั้งของแหล่งงาน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่พาณิชยกรรม รวมถึงมีโครงการพัฒนาทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทางเดินเท้าริมถนนที่มีปริมาณการใช้งานต่อวันของผู้คนที่สูงนั้น ยังมีสภาพแวดล้อมที่่ไม่น่าเดินและไม่ส่งเสริมให้เกิดการเดิน หากถนนสุขุมวิทที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของคนเมือง และมีศักยภาพในการพัฒนา สามารถเดินได้และเดินดีตลอดทั้งเส้น จะเป็นอย่างไร  กรุงเทพมหานคร และคณะทำงานโครงการฯ จึงได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนสุขุมวิทซอย 1 ถึงซอย 107 (นานา-แบริ่ง) ของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่ 893 คน เกี่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมการเดินเท้าในพื้นที่ ปัญหาที่พบเจอ และความต้องการในการพัฒนา เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาให้ย่านของถนนสุขุมวิทน่าอยู่ และออกแบบทางเท้าให้เดินได้-เดินดี พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของย่านให้ดีมากยิ่งขึ้น ถนนสุขุมวิท พื้นที่ของกลุ่มคนที่หลากหลาย จากการสำรวจข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ใช้งานทางเท้าถนนสุขุมวิท พบว่า มีคนทุกเพศทุกวัยเข้าใช้งานพื้นที่ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 33-34 ปี ผู้ที่ให้ความคิดเห็นที่มีอายุมากที่สุดอยู่ที่ 75 ปี และน้อยที่สุดอายุ 13 ปี ส่วนมากเป็นกลุ่มวัยทำงาน อายุ 26 – […]

“6 ไอเดียจากประชาชน” ในการออกแบบทางเดินเท้าแบบมีหลังคาคลุม ในพื้นที่กรุงเทพฯ

15/02/2024

ในวันนี้ The Urbanis จะพาชาวเมืองทุกท่านดู 6 ไอเดียที่ได้รับรางวัล จากกิจกรรมประกวดไอเดียออกแบบทางเดินเท้าแบบมีหลังคาคลุม ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยสำนักการโยธา กทม. ร่วมกับ UDDC-CEUS สสส. และภาคีในเครือข่าย กิจกรรมในครั้งนี้เปิดรับสมัคร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สมาชิกไม่เกิน 3 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทการประกวด ประกอบด้วย ประเภท A นักเรียน นักศึกษาทุกสาขา (อายุไม่เกิน 25 ปี) และ ประเภท B บุคคลทั่วไป ในทุกสาขาวิชาชีพ จากผู้สมัครเข้ามากว่า 50 ทีมทั่วประเทศ สู่ 10 ทีมสุดท้าย โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในหลายศาสตร์สาขา ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง และภูมิศาสตร์ มาร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินผลงาน ประกอบด้วย – รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน– […]

10 data insight เชียงใหม่ เมืองขับได้ขี่ดี vs เมืองเดินได้เดินดี

03/05/2021

วิเคราะห์ข้อมูลโดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ช่วงเข้าใกล้หน้าหนาวทีไร เชียงใหม่คงเป็นตัวเลือกแรกของใครหลายๆ คน แต่นอกจากความสวยงามของวัฒนธรรมและธรรมชาติที่เผยโฉมให้นักท่องเที่ยวได้เห็นแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีประเด็นหลากหลาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับเมืองที่ถูกซุกซ่อนอยู่ The Urbanis ชวนอ่านเมืองผ่านข้อมูล Data Insight “10 ข้อเท็จจริงของเชียงใหม่: จากเมืองขับได้ขับดี สู่เมืองเดินได้เดินดี” ที่ผ่านการวิเคราะห์ โดยคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ฝ่าย Urban Intelligence เพื่อทำความเข้าใจเมืองเชียงใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง มาชวนทุกคนได้อ่านเมืองเชียงใหม่ไปพร้อมๆ กัน ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาย่านเดินได้เดินดี เพื่อยกระดับสุขภาวะคนเมือง นำร่องในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ใจบ้านสตูดิโอ บริษัท ระฟ้า จำกัด กลุ่มเขียวสวยหอม เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ กรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองล้านนา สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ […]

เป็นคนแรกที่ถูกลืมและเป็นคนสุดท้ายที่ถูกนึกถึง: ทางเท้าสำหรับทุกคนผ่านมุมมอง กฤษนะ ละไล

21/04/2021

“คนพิการมักเป็นกลุ่มแรกที่ถูกลืม และเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ถูกนึกถึงในการพัฒนาทางเท้า”   ส่วนหนึ่งจากบทสนทนาของ กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล (Friendly Design for All Foundation) ผู้ที่บอกว่าตนเองเป็น “คนสำคัญที่มักถูกลืมในการพัฒนาทางเท้า” เราได้แลกเปลี่ยนมุมมองว่าด้วยเรื่องทางเท้า และโครงการฟื้นฟูทางเท้าย่านรัตนโกสินทร์ 33 เส้นทาง ผ่านบทความสัมภาษณ์ฉบับนี้ สภาพแวดล้อมพิการ: ภาพสะท้อนความลำบากของคนสำคัญที่มักถูกลืม อดีตนั้นเราอาจยังไม่มีความรู้สึกกับปัญหาสภาพแวดล้อมทางเท้า หรือให้ความสนใจมากขนาดนี้ จนกระทั่งเราได้มานั่งบนเก้าอี้วีลแชร์ ได้ทราบปัญหา ได้สัมผัสกับความยากลำบาก ได้ประสบกับบทโหดของชีวิตในการออกเดินทางผจญภัยนอกบ้าน ซึ่งสภาพแวดล้อมไม่เป็นมิตรกับเราเลย โดยเฉพาะทางเท้าหรือฟุตพาทอย่างที่เราเห็น คนปกติเดินยังไม่ Friendly คนนั่งวีลแชร์ไม่ต้องนึกถึงเลย คือ มันไม่ได้ไปใช้แน่นอน ยิ่งตัวเองเป็นแบบนี้ ยิ่งทำให้เราเห็นและรู้ถึงปัญหาเพราะปัญหาเหล่านี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเมือง ไม่ใช่แค่ทางเท้าแต่มันทุกอย่างเลย ตึกอาคาร สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวทุกอย่างมันมีอุปสรรคสำหรับชาววีลแชร์มาก รวมถึงทางเท้าเป็นปัญหาใหญ่ ที่กล่าวได้ว่าเป็น “สภาพแวดล้อมที่พิการ“ การดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมพิการ ลดทอนความภูมิใจ และคุณค่าความเป็นมนุษย์  เมื่อหลาย 10 ปีก่อน พอเราประสบปัญหากับตัวเอง เราพบว่า การเดินทางไปไหนมาไหนช่างลำบากเหลือเกิน ขึ้นรถสาธารณะต้องมีคนยกคนแบก ขึ้นเครื่องบินต้องมีคนอุ้มขึ้น เรากลายเป็นตัวประหลาด กลายเป็นภาระของคนที่ไปด้วย […]

ฤา จะเป็นความปกติที่ไม่ปกติ

05/11/2020

หมายเหตุ บทความเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2018 [ว่าด้วยเรื่องความปกติของถนนและทางเท้า] เมื่อต้นปีมีข่าวว่าทางราชการท้องถิ่นได้มอบเกียรติบัตรให้เก็บเด็กหญิงผู้มีมารยาทงามในการถอนสายบัวขอบคุณรถยนต์ที่หยุดให้เด็กหญิงคนนั้นเดินข้ามถนน มันเป็นข่าวที่น่าขบขันและเป็นตลกร้ายที่เราต้องหันกลับมาดูว่านี่ “มันคือสิ่งปกติที่มันไม่น่าจะปกติ” ความปกติของการใช้ถนนและทางเท้า เว็บไซต์ www.j-campus.com ได้ยกตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายจราจรในประเทศญี่ปุ่นอันเข้มงวด ดังนี้ ไม่หยุดรถตามป้ายสัญญาณ มีโทษหักคะแนน 2 แต้ม เสียค่าปรับ 5,000-9,000 เยนตามขนาดของรถ ตั้งแต่จักรยานยนต์ไปจนถึงรถบรรทุก กฎหมายของญี่ปุ่นจะดูแลคนเดินเท้าเป็นพิเศษ โดยมีกฎหมายที่เอาผิดผู้ขับที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ขัดขวางการสัญจรของเด็กเล็ก ไม่รักษาขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ไม่รักษาระยะห่างจากคนเดินเท้าในระยะที่ปลอดภัย จริงๆ แล้วคนเดินเท้าและจักรยานจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับคนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพียงแต่แยกเรื่องความปลอดภัยออกมาในแง่ของการเดินตามถนนและเดินข้ามถนน ซึ่งที่ญี่ปุ่น (รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วทุกที่) คนกลุ่มนี้จะมีศักย์ใหญ่กว่าคนใช้รถ หมายความว่ารถต้องหยุดและให้ทางกับคนเดินเท้าเพื่อข้ามถนน ด้วยความที่มีศักย์และสิทธิมากกว่าผู้ใช้รถยนต์ รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับคนทุกกลุ่มทุกวัย ทำให้คนเดินเท้าและจักรยานมีความปลอดภัยมากในประเทศญี่ปุ่น     จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันของเราต้องมีซักช่วงหนึ่งของวันที่เราเป็นคนเดินเท้า แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคและทำให้บ้านเราแก้ปัญหานี้ได้ยาก คือ คนที่ได้ประโยชน์กับคนที่เสียประโยชน์เป็นคนเดียวกัน เราบ่นว่าเค้าขายของขวางทาง แต่เราก็ยังมีความต้องการที่ซื้อของจากร้านค้าหาบเร่แผงลอยเหล่านี้ ความย้อนแย้งและวาทะกรรมของทางเท้าและหาบเร่แผงลอยยังไม่หมดเท่านั้น จากการวิจัยและผลการสำรวจของ UddC พบว่า หาบเร่แผงลอยเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่ต่างมุมมองก็ต่างแง่คิด เพราะมันเป็นทั้งสิ่งที่ดึงดูดให้คนเดินเท้า คือเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้การเดินเท้าในเมืองเป็นไปได้ง่ายขึ้นเมื่อสองข้างทางมีร้านค้าหาบเร่แผงลอยให้แวะชม แวะซื้อ แต่อย่างไรก็ตามต้องอยู่ในระยะและจำนวนที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนและลดทอน […]

กรุงเทพฯ ในมุมที่ช้าลง ของคนวิ่ง City Run ส่งกาแฟ กรีฑา รัตนโพธิ

20/07/2020

ถ้าเข้าไปดูในเฟซบุ๊คส่วนตัวของ กรีฑา รัตนโพธิ จะเจอข้อความที่คล้ายเป็นม็อตโต้ของเขาอย่าง “เดินให้ช้าลง ชีวิตมีสุขมากขึ้น” แนวคิดของข้อความนี้หลายคนคงเห็นด้วยว่ามันฟังดูดี แต่คำถามคือ มีใครบ้างที่ลงมือปฏิบัติ ทำชีวิตตัวเองให้ช้าลง และได้รับความสุขที่เพิ่มขึ้นจริงๆ กรีฑาไม่ได้แปะข้อความไว้เท่ๆ อย่างเดียว แต่เขาลงมือทำให้ชีวิตช้าลง ด้วยการลาออกจากงานประจำที่ทำมายี่สิบกว่าปี เพราะความอิ่มตัวและชีวิตที่คร่ำเครียดจนเกือบส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และออกมาเป็นคนคั่วเมล็ดกาแฟด้วยมือขายภายใต้แบรนด์ “กม กาแฟ” กรีฑาไม่มีชื่อเล่น เขามีชื่อที่เข้ากับกีฬาวิ่งนี้มาตั้งแต่เกิด ก่อนที่จะเริ่มวิ่งเมื่อประมาณ 6 ปีก่อน และขยับมาวิ่งซิตี้รันครั้นเมื่อเห็นว่าไหนก็ต้องไปส่งกาแฟให้ลูกค้าอยู่แล้ว ก็เลยวิ่งซิตี้รันไปส่งกาแฟให้ลูกค้าเสียเลย จนกระทั่งทุกวันนี้กลายเป็นกิจวัตร ที่เหมือนเป็นทั้งการทำงานและการพักผ่อนไปในตัว การวิ่งซิตี้รันก็คือการทำชีวิตให้ช้าลงอีกอย่างหนึ่งของกรีฑา เพราะมันทำให้เขาได้เห็นเมืองอย่างกรุงเทพฯ ในอีกมุมหนึ่ง ที่วิถีของการเดินทางปกติไม่อาจเห็น และยังนำความรื่นรมย์มาให้ชีวิต เรามาทำความรู้จักเมืองในอีกมุมมอง ผ่านชีวิตที่เคลื่อนไปช้าๆ ของผู้ชายคนนี้กัน ประสบการณ์การวิ่งซิตี้รันครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้าง ผมเริ่มวิ่งมาประมาณ 6 ปี เริ่มจากวิ่งในสวน ขยับมาวิ่งงานซึ่งปีแรกก็เบื่อแล้ว ขี้เกียจตื่นเช้าเกินไปเลยวิ่งบนถนนเสียเลย ผมวิ่งซิตี้รันมาน่าจะประมาณ 5 ปีแล้ว วิ่งซิตี้รันครั้งแรกไม่ประทับใจเลย อย่างแรกคือควัน ฝุ่น สภาพฟุตบาท ผมวิ่งจากบ้านแถวจรัญสนิทวงศ์ ข้ามสะพานซังฮี้ไปวชิระ เลี้ยววนกลับ ได้ประมาณ 5 […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

กรุงเทพฯ: เมืองใหญ่ ถนนน้อย ทางเท้าด้อยคุณภาพ

01/11/2019

กรุงเทพฯ เมืองโตเดี่ยวตลอดกาลของประเทศไทยและจะยังคงเป็นเฉกเช่นนี้ไปอีกนาน ด้วยขนาดของเมืองในระดับมหานคร (Mega Cities) ที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยกว่า 10 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของคนทั้งประเทศ ไม่แปลกที่กรุงเทพฯ จะมีความพลุกพล่านของผู้คนและการสัญจร เคยมีผลการสำรวจคนกรุงเทพฯ เรื่องของการใช้เวลาในการเดินทางพบว่า เราใช้เวลาอยู่ในรถนานกว่า 800 ชั่วโมงต่อปี (1 เดือนต่อปี) หรือคิดเป็นกว่า 1 ปี ในรอบ 12 ปี และนี่คือ ผลของการจราจรที่ติดขัดและเป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของยอดจดทะเบียนรถยนต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 350,000 คัน แต่ทว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมากรุงเทพฯ แทบไม่มีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นเลย การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับรถยนต์มากกว่าการเดินเท้าทำให้เรามีทางสัญจรน้อยเช่นนี้คงไม่ใช่ทางออกที่ดีของเมืองกรุงเทพฯ แน่ๆ เพราะฉะนั้น “การสร้างเมืองให้เดินได้-เดินดี” คือคำตอบ!!! สัดส่วนพื้นที่ถนน คือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพเมือง มาตรฐานเมืองที่ดีซึ่งจะทำให้เกิดการจราจรที่สะดวกและไม่เกิดปัญหารถติด เราเชื่อว่าต้องมีสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20-25 หลายเมืองจึงใช้เกณฑ์มาตรฐานของสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองเป็นตัวชี้วัดคุณภาพเมืองด้านโครงสร้างสัณฐานเมือง เพราะนอกจากถนนจะเป็นพื้นที่สำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์แล้ว พื้นที่ถนนในที่นี้ยังหมายรวมถึงพื้นที่ในส่วนเขตทางทั้งหมด อันประกอบไปด้วยพื้นผิวจราจรและพื้นผิวทางเท้า […]