ตลาด



มองย่านผ่านตลาด : ศูนย์รวมของเมืองและบทบาทที่เปลี่ยนไป

01/09/2020

จากบทความครั้งที่แล้วเรื่อง ตลาด แหล่งอาหารและพื้นที่ชีวิตของเมือง เราเริ่มเห็นว่าในหลายๆ พื้นที่ของกรุงเทพฯ ตลาดและชุมชนเป็นของคู่กันในภาคต่อของเรื่องตลาดนี้ ทางทีม UddC Urban Insights ร่วมกับโครงการวิจัยคนเมือง 4.0 จึงอยากมองความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับตลาดให้ลึกมากขึ้นกว่าเดิมว่าปัจจุบันความสัมพันธ์นี้มันเปลี่ยนไปมากน้อยขนาดไหน และความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนเมืองอย่างไรบ้าง ฉันจำได้ว่าตอนเด็กๆ ครอบครัวของฉันจะไปซื้อของที่ตลาดนัดทุกเช้าวันอาทิตย์หลังจากไปตักบาตรที่วัดใกล้บ้าน แม่จะปลุกฉันตั้งแต่ตอน 6 โมงเช้า แล้วฉันก็จะสลึมสลือนั่งรถเพื่อไปตักบาตร ทุกเช้าวันอาทิตย์พวกเราจึงจะได้กินโจ๊กหมูกับปาท่องโก๋เจ้าประจำจากตลาด บางครั้งเราก็จะเจอเพื่อนบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านที่มาตักบาตรที่วัดเดียวกัน สถานที่ซื้อของสดและกับข้าวในสมัยนั้นเป็นจุดหมายปลายทาง (destination) ของครอบครัวเรา เมื่อฉันเริ่มโตขึ้นหน่อย การซื้อกับข้าวเริ่มสลับไปมาระหว่างการไปซื้อไข่จากร้านเจ้าประจำจากตลาดสดแถวบ้าน การซื้อผลไม้และปลากับแม่ค้าที่สนิทกันในตลาดนัด และการเข้าร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อซื้อนมและเนื้อสัตว์ที่เราผ่านเป็นประจำระหว่างทางกลับบ้านจากโรงเรียน ในมุมหนึ่ง เราจึงเริ่มเห็นว่าบทบาทของสถานที่ซื้อของสดและกับข้าวเริ่มผันตัวจากการเป็นจุดหมายปลายทางมาเป็นส่วนหนึ่งของทางที่เราเลือกผ่าน จนในปัจจุบันที่ฉันต้องซื้อกับข้าวให้ตัวเอง แม้ฉันจะเริ่มเห็นความสำคัญและสนใจตลาดแค่ไหน แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบและเหนื่อยล้า ความสะดวกมักกลายเป็นปัจจัยแรกๆ ที่ฉันคำนึงถึง แล้วหลายครั้งฉันก็ต้องเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าระหว่างเดินทางกลับบ้านแทน บทบาทของสถานที่ซื้อของสดและกับข้าวจึงกลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทางผ่านเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงของบทบาทและรูปแบบตลาดที่ผ่านมาทำให้ทางทีมงานสนใจการเปรียบเทียบความหนาแน่นระหว่างพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ซื้อของสดและกับข้าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นจากบทความเดิม กราฟด้านล่างแสดงคู่เปรียบเทียบระหว่างชุมชนและตลาดสดในพื้นที่ต่างๆ โดยนำเสนอผ่านการมองกรุงเทพฯ จากระดับพื้นราบ โดยพื้นที่ที่มีชุมชนอยู่มากจะมีกราฟแท่งที่ยืดขึ้นด้านบนมากกว่าพื้นที่อื่นๆ และในลักษณะเดียวกัน พื้นที่ที่มีตลาดสดอยู่มากจะมีกราฟแท่งที่ยืดลงด้านล่างมากกว่าพื้นที่อื่นๆ การนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีนี้ทำให้เราสามารถเข้าใจข้อมูลด้วยตาเปล่าว่าการกระจายตัวของย่านชุมชนและตลาดสดมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางคู่ขนานกัน โดยพื้นที่ไหนมีชุมชนอยู่มากก็จะมีตลาดอยู่มาก พื้นที่ไหนมีชุมชนอยู่น้อยก็จะมีตลาดอยู่น้อย เป็นของคู่กันไปโดยปริยาย ทั้งนี้ในรายละเอียดพื้นที่ย่านสวนหลวงร.9 เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนและตลาดกระจุกตัวกันสูงที่สุดในกรุงเทพฯ แต่หากไม่มองที่พื้นที่สวนหลวงร.9 ที่มีลักษณะพิเศษนั้นแล้ว พื้นที่ย่านเมืองเก่า (ริมแม่น้ำฝั่งพระนครและฝั่งธนฯ) […]

ว่าด้วยการซื้อของในเมืองเบื้องต้น คุยกับ อ.ดร. พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ ในช่วงที่การเดินทางเป็นเรื่องลำบาก

13/05/2020

ลองนึกถึงสินค้าชิ้นล่าสุดที่คุณเพิ่งซื้อ คุณซื้อจากที่ไหน แล้วถ้าหากเป็นช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด ของชิ้นที่ว่า เดิมทีคุณจะซื้อจากที่ไหน คำตอบสำหรับภาพการซื้อของในเมืองมีได้หลากหลาย ทั้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขามากมายมหาศาล ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตมหึมา หรือใช้นิ้วสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ก็มีให้เลื่อนให้ไถกันไม่หยุด รวมถึง ตลาดนัด และอื่นๆ  แต่การมาของโควิด-19 โรคระบาดครั้งใหญ่ที่ถูกทั้งโลกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนภาพการซื้อของในเมืองไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้คนไม่สามารถไปกินข้าวที่ร้านประจำได้ ถูกงดช็อปปิ้งในห้าง อยู่บ้านมากขึ้นกักตัวพร้อมกักตุนอาหาร และอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้พฤติกรรมการซื้อของต้องเปลี่ยนไป  ในวันที่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือ โครงการย่อยที่ 5 ซึ่งพูดถึงเรื่อง ‘อนาคตของการซื้อของในเมือง’ การมาเยือนของโควิด-19 ส่งผลให้อนาคตการซื้อของของคนเมืองในงานวิจัยนั้นเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร สมมติฐานถึงอนาคตทั้งใกล้ไกลจะเบนเข็มไปในทิศทางไหน ทุกๆ อย่างกำลังเปลี่ยน เปลี่ยนไปจากความคุ้นชิน เปลี่ยนไปในทิศทางบังคับที่ทุกคนต้องปรับตัวตาม และยังไม่รู้เลยว่า คลื่นลมของการเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ จะสงบลงได้ในวันไหน การพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ในช่วงเวลาแบบนี้ เมืองควรมีร้านสะดวกซื้อเพราะอะไร เมืองเกิดจากตลาดแล้วก็วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ร้านค้าจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองมาตั้งแต่ต้น การค้าในเมืองในยุค 1.0 […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป

29/04/2020

ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครจะจินตนาการออกว่า ภาพร้านอาหารที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ต่อคิว เบียดเสียดเพื่อรับประทานอาหารร้านยอดนิยมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การศึกษาและวิจัยมากมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและเสนอแนวทางปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือ กลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ทั้งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันทั่วโลกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ชี้เป้าไปที่ ความหนาแน่น (Density) และ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ร้านอาหาร หนึ่งในธุรกิจฝากท้องของชาวเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อโรค ทั้งจากสภาพความหนาแน่น ระยะระหว่างบุคคล (Proximity)  ผนวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ล้วนเพิ่มโอกาสในการสัมผัส (Contact) ติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้การดำเนินการธุรกิจด้านร้านอาหารถูกจับตามองไม่ใช่น้อย ร้านอาหารจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ไหม มาตรการอะไรที่ร้านอาหารควรปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด ไปจนถึงอะไรคือมาตรฐานใหม่ที่จะสร้างสุขอนามัยให้กับร้านอาหารในระยะยาว วันนี้เราจึงขอเสนอแนวคิดในการปรับตัวของเหล่าร้านอาหารในช่วงสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อคำนึงใหม่ที่ควรนำมาปรับใช้ในการออกแบบร้านอาหารในอนาคต การกำหนดความหนาแน่นของร้านอาหาร  ร้านอาหาร แหล่งรวมความหนาแน่น และกระจุกตัวของผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลารอบมื้ออาหาร ด้วยต้นทุนทางการดำเนินธุรกิจ ร้านอาหารต่างมีการออกแบบเพื่อให้มีความจุ (Capacity) ในการรองรับการเข้ารับประทานอาหารในแต่ละรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อตอบโจทย์ด้านผลตอบแทนในการลงทุน จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารจะมีความเบียดเสียด และแออัด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าว แนวคิดการออกแบบร้านอาหารในอนาคตอาจจะต้องถูกนำมาประเมินอีกครั้ง ร่วมกับการคำนวนความจุที่เหมาะสมต่อการรองรับลูกค้า ไปถึงค่ามาตรฐาน ตารางเมตรต่อคน ที่เคยอ้างอิงตามตำราเล่มเก่า อาจจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  นอกจากความหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายในร้านแล้ว จุดที่สร้างให้เกิดการกระจุกตัวอีกแห่ง […]

Marketplace is coming (back) to town โอกาสของธุรกิจรายย่อย ตู้กับข้าวของชาวเมือง

27/04/2020

ใครจะนึกว่าวันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ได้พลิกวิกฤติของผู้เล่นรายย่อยในละแวกบ้าน สู่โอกาสในการทำมาหากิน จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนเมืองที่หันกลับมาพึ่งพาการจับจ่ายใช้สอยในละแวกมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยจากแผงลอยหน้าหมู่บ้าน ตลาดสดท้ายซอย และร้านรถเข็นเจ้าเก่า ได้กลับมาเป็นคำตอบให้กับคนเมืองอีกครั้ง แน่นอนว่าธุรกิจรายย่อย หรือเหล่าพ่อค้าแม่ขายจาก Informal Sector นั้นได้รับความสนใจอย่างมากต่อเหล่าผู้ถูกกักตัว ซึ่งได้ยึดร้านรวงเหล่านั้นเป็นเหมือนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต โอกาสของเหล่าธุรกิจรายย่อย นั้นมาพร้อมกับความท้าทายในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัย สุขอนามัยที่ดี ในขณะเดียวกัน วิกฤติในครั้งนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืน และการประนีประนอมที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างโอกาสในการทำมาหากินของเหล่า Informal Sector ที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของเหล่าคนเมือง  วันนี้ เราจะชวนคุณไปชมกรณีศึกษาจากทั่วโลก ก่อนจะมาร่วมหาคำตอบของการออกแบบและปรับตัวทางกายภาพของเหล่า Informal Sector ผ่านพื้นฐานทางกายภาพของการออกแบบ จุด เส้น ระนาบ จุดศูนย์กลาง สู่ละแวกบ้าน ภาพด้านบนแสดงรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองก่อนสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบรวมศูนย์ คนเดินทางเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง ภาพที่ 2 แสดงข้อเสนอของรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองหลังสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบกระจายตัวไปตามละแวกบ้าน คนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง แต่เลือกที่จะไปจับจ่ายที่ตลาดขนาดเล็กในละแวกบ้านแทน […]