ชุมชน



มองย่านผ่านตลาด : ศูนย์รวมของเมืองและบทบาทที่เปลี่ยนไป

01/09/2020

จากบทความครั้งที่แล้วเรื่อง ตลาด แหล่งอาหารและพื้นที่ชีวิตของเมือง เราเริ่มเห็นว่าในหลายๆ พื้นที่ของกรุงเทพฯ ตลาดและชุมชนเป็นของคู่กันในภาคต่อของเรื่องตลาดนี้ ทางทีม UddC Urban Insights ร่วมกับโครงการวิจัยคนเมือง 4.0 จึงอยากมองความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับตลาดให้ลึกมากขึ้นกว่าเดิมว่าปัจจุบันความสัมพันธ์นี้มันเปลี่ยนไปมากน้อยขนาดไหน และความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนเมืองอย่างไรบ้าง ฉันจำได้ว่าตอนเด็กๆ ครอบครัวของฉันจะไปซื้อของที่ตลาดนัดทุกเช้าวันอาทิตย์หลังจากไปตักบาตรที่วัดใกล้บ้าน แม่จะปลุกฉันตั้งแต่ตอน 6 โมงเช้า แล้วฉันก็จะสลึมสลือนั่งรถเพื่อไปตักบาตร ทุกเช้าวันอาทิตย์พวกเราจึงจะได้กินโจ๊กหมูกับปาท่องโก๋เจ้าประจำจากตลาด บางครั้งเราก็จะเจอเพื่อนบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านที่มาตักบาตรที่วัดเดียวกัน สถานที่ซื้อของสดและกับข้าวในสมัยนั้นเป็นจุดหมายปลายทาง (destination) ของครอบครัวเรา เมื่อฉันเริ่มโตขึ้นหน่อย การซื้อกับข้าวเริ่มสลับไปมาระหว่างการไปซื้อไข่จากร้านเจ้าประจำจากตลาดสดแถวบ้าน การซื้อผลไม้และปลากับแม่ค้าที่สนิทกันในตลาดนัด และการเข้าร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อซื้อนมและเนื้อสัตว์ที่เราผ่านเป็นประจำระหว่างทางกลับบ้านจากโรงเรียน ในมุมหนึ่ง เราจึงเริ่มเห็นว่าบทบาทของสถานที่ซื้อของสดและกับข้าวเริ่มผันตัวจากการเป็นจุดหมายปลายทางมาเป็นส่วนหนึ่งของทางที่เราเลือกผ่าน จนในปัจจุบันที่ฉันต้องซื้อกับข้าวให้ตัวเอง แม้ฉันจะเริ่มเห็นความสำคัญและสนใจตลาดแค่ไหน แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบและเหนื่อยล้า ความสะดวกมักกลายเป็นปัจจัยแรกๆ ที่ฉันคำนึงถึง แล้วหลายครั้งฉันก็ต้องเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าระหว่างเดินทางกลับบ้านแทน บทบาทของสถานที่ซื้อของสดและกับข้าวจึงกลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทางผ่านเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงของบทบาทและรูปแบบตลาดที่ผ่านมาทำให้ทางทีมงานสนใจการเปรียบเทียบความหนาแน่นระหว่างพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ซื้อของสดและกับข้าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นจากบทความเดิม กราฟด้านล่างแสดงคู่เปรียบเทียบระหว่างชุมชนและตลาดสดในพื้นที่ต่างๆ โดยนำเสนอผ่านการมองกรุงเทพฯ จากระดับพื้นราบ โดยพื้นที่ที่มีชุมชนอยู่มากจะมีกราฟแท่งที่ยืดขึ้นด้านบนมากกว่าพื้นที่อื่นๆ และในลักษณะเดียวกัน พื้นที่ที่มีตลาดสดอยู่มากจะมีกราฟแท่งที่ยืดลงด้านล่างมากกว่าพื้นที่อื่นๆ การนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีนี้ทำให้เราสามารถเข้าใจข้อมูลด้วยตาเปล่าว่าการกระจายตัวของย่านชุมชนและตลาดสดมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางคู่ขนานกัน โดยพื้นที่ไหนมีชุมชนอยู่มากก็จะมีตลาดอยู่มาก พื้นที่ไหนมีชุมชนอยู่น้อยก็จะมีตลาดอยู่น้อย เป็นของคู่กันไปโดยปริยาย ทั้งนี้ในรายละเอียดพื้นที่ย่านสวนหลวงร.9 เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนและตลาดกระจุกตัวกันสูงที่สุดในกรุงเทพฯ แต่หากไม่มองที่พื้นที่สวนหลวงร.9 ที่มีลักษณะพิเศษนั้นแล้ว พื้นที่ย่านเมืองเก่า (ริมแม่น้ำฝั่งพระนครและฝั่งธนฯ) […]