การออกแบบเมือง



ความสัมพันธ์ระหว่างเรา : คนกับพื้นที่เมือง และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างมีชีวิตชีวา

01/09/2020

พื้นที่สาธารณะคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ‘พื้นที่สาธารณะ’ (Public Space) เป็นการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นรูปแบบไหน เช่น ถนน ทางเดิน สวนสาธารณะ สนาม ลานชุมชน ลานเมืองเป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้หรือแบ่งปันร่วมกันสมาชิกทุกๆ คน พื้นที่สาธารณะจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ในเชิงกายภาพซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทุกคนและมีการเข้าถึงได้มากกว่าพื้นที่ส่วนตัว นอกเหนือจากพื้นที่ทางกายภาพแล้ว จะต้องสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างคนกับสถานที่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างให้พื้นที่สาธารณะเกิดการใช้งานอย่างมีชีวิตชีวาคือ การสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้คน ดังนั้นพื้นที่สาธารณะจะต้องมีการเข้าถึงพื้นที่ การเชื่อมต่อที่ดี ความรู้สึกสบาย ปลอดภัย บรรยากาศที่เชื้อเชิญ และมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเข้าสังคมของผู้ใช้พื้นที่ กรุงเทพฯ vs วอร์ซอ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่มีพื้นที่กว่า 1,569 ตร.กม. และมีประชากรกว่า 10 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบแล้วเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517 ตร.กม. มีประชากร 2.5 ล้านคน กล่าวคือวอร์ซอมีขนาดเล็กกว่ามาก เห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่เมืองต่อจำนวนประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่อคนน้อยกว่าคนวอร์ซอถึงร้อยละ 25 อีกทั้งเมืองวอร์ซอยังมีพื้นที่สีเขียวโดยรวมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่เมืองและสัดส่วนของพื้นที่สาธารณะยังมีสูงถึงถึง 62 ตร.ม.ต่อคน แต่คนกรุงเทพฯ มีเพียง 6.2 ตร.ม.ต่อคน หรือต่างกันกว่า […]

20 ปีของการพัฒนาเมือง : บทเรียนที่แสนเจ็บปวด La Confluence และ มักกะสัน

01/09/2020

หลายคนคงคุ้นเคยกับพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อย่างพื้นที่สวนลุมพินีซึ่งมีขนาด 360 ไร่ หรือพื้นที่สนามหลวงใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ เเต่อาจจะมีไม่กี่คนที่รู้จักพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างพื้นที่มักกะสันที่มีขนาดใหญ่กว่า 700 ไร่ โดยมีขนาดเป็น 1.3 เท่าของพื้นที่สวนลุมพินี หรือเปรียบได้กับสนามหลวง 9 เเห่งด้วยกัน เเต่ปัจจุบันพื้นที่มักกะสันยังถูกปล่อยให้ร้างท่ามกลางการพัฒนาของพื้นที่อื่นๆ โดยรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ La Confluence ในประเทศที่พัฒนาเเล้วอย่างฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ใจกลางเมืองที่เคยถูกปล่อยให้ร้างเเละส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเชื่อมต่อกับเนื้อเมืองโดยรอบ โดยในบทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนเเละเเนวคิดในการเเก้ไขปัญหาพื้นที่ลักษณะนี้ ผ่านกระบวนการวางผังเเละออกเเบบเมืองจนเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลาเพียงเเค่ 20 ปี โครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่เมืองลียงหรือ “La Confluence” นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1.5 ตร.กม. โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมที่เคยตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เริ่มมีการปิดกิจการเเละย้ายออกจากพื้นที่ จึงเป็นผลให้พื้นที่กลายเป็นพื้นที่รกร้าง เสื่อมโทรมเเละไม่น่าอยู่อาศัย ผู้คนต่างพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางมายังพื้นที่บริเวณนี้ เพราะนอกจากจะเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเเล้ว ยังเป็นย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นเเรงงาน รวมถึงคุก St.Paul ทั้งๆ ที่บริเวณนี้นอกจากจะมีสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟเก่าเเก่อย่างสถานี Perrache เเล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณเเหลมของเกาะใจกลางเมืองลียง ที่เป็นจุดตัดของเเม่น้ำสายสำคัญอย่างเเม่น้ำโซน (Saone) เเละแม่น้ำโรน (Rhone) ที่มีมุมมองของคุ้งน้ำที่สวยงามซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพมาก จากทำเลที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับตัวเมืองทั้งฝั่งตะวันตกเเละฝั่งตะวันออกได้ จากการที่พื้นที่ที่มีศักยภาพระดับนี้ เเต่กลับถูกทิ้งร้างเเละเป็นที่หลีกเลี่ยงของผู้คนในเมือง ทางภาครัฐจึงได้มีการเสนอให้มีการบูรณะฟื้นฟูเมืองบริเวณนี้ โดยนอกจากจะเป็นการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพที่มีอยู่เเล้ว ยังเป็นโอกาสในการเชื่อมต่อพื้นที่บริเวณนี้กับพื้นที่ด้านข้าง รวมถึงเป็นการขยายศูนย์กลางเมือง ไปทางใต้ของเกาะมากขึ้น ซึ่งจากเดิมการพัฒนาของเมืองลียงจะหยุดอยู่เเค่ที่สถานี Perrache ที่เปรียบเสมือนกำเเพงที่เเบ่งเกาะออกเป็น 2 ส่วน นั่นคือส่วนเหนือเเละส่วนใต้ ซึ่งผลจากการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนี้ จะเป็นการเชื่อมเเกนเหนือ-ใต้ของเมือง โดยจุดประสงค์หลักคือ การเพิ่มความหนาเเน่นพร้อมกับการสร้างพื้นที่สาธารณะเเละพื้นที่สีเขียวให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทุกเพศ ทุกวัยเเละทุกกลุ่มรายได้ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม รวมถึงการสร้างความสมดุลระหว่างจำนวนของประชากรกับการใช้งานของพื้นที่โดยมีธีมหลักในการออกเเบบคือ เเม่น้ำสายสำคัญทั้ง 2 สายที่ขนาบข้างพื้นที่โครงการ โดยโครงการเเบ่งออกเป็น 2 ระยะ เเละมีระยะเวลาในการดำเนินงานทั้งหมด 20 ปี ซึ่งในระยะเเรก จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตก หรือพื้นที่ที่อยู่ติดกับเเม่น้ำโซน (Saone) โดยมีเเนวคิดหลักคือ การพัฒนาให้กลายเป็นเมืองตัวอย่าง ผ่านการผสมผสานการใช้งานของพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่อยู่อาศัยเเละสำนักงาน รวมถึงพื้นที่สาธารณะ โดยลักษณะสัณฐานเดิมของพื้นที่บริเวณริมเเม่น้ำโซน (Saone) นั้น […]

เมื่อรถยนต์คือแขกรับเชิญ ในเมืองจักรยาน อัมสเตอร์ดัม

21/07/2020

ภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา Pete Jordan ผู้แต่งหนังสือเรื่อง City of Bikes กล่าวว่า “พวกเยอรมันเกลียดคนอัมสเตอร์ดัมที่ขี่จักรยานเหลือเกิน” เพราะขวางการเคลื่อนขบวนรถทหารบนถนน แต่ความจริงแล้ว Jordan เขียนว่า “นี่เป็นวิธีการแสดงการขัดขืนต่อพวกนาซี และแสดงความสาแก่ใจ จากสามัญชน ที่สามารถขัดขวางพวกนาซีได้” เพราะการขี่จักรยานนั้น เป็นการคมนาคมหลักของประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงนาซีเข้ามาครอบเมืองในช่วงประมาณ 1940  ถึงวันนี้คนขับรถ หรือคนเดินถนนในอัมสเตอร์ดัมเอง ก็หวั่นเกรงคนขี่จักรยาน เพราะการใช้จักรยานในอัมสเตอร์ดัมคือพาหนะในการเดินทางหลัก และมีมากกว่า 880,000 คัน ขณะที่จำนวนรถยนต์มีน้อยกว่าถึง 4 เท่า   ถ้าใครเคยดูหนังสารคดีเรื่อง Rijksmuseum คงจะจำได้ว่า การซ่อมแซมบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เวลายาวนานมาก เพราะแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีการขอความเห็น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนใช้จักรยาน นักกิจกรรมจักรยานนั้นเสียงดังเอาเรื่อง เพราะถือว่าเป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์มากพอกับเสียงส่วนอื่นด้วย ดังนั้น การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ไรกส์นั้น จึงจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จนในที่สุดผู้ใช้จักรยานก็สามารถขี่ผ่านส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อนของเรา เป็นคนแรกที่ขี่จักรยานเข้าพิพิธภัณฑ์ไรกส์เป็นคนแรก Tania มารู้ก็ตอนที่ตัวเองได้ออกเป็นข่าวไปแล้ว! ดูเหมือนจะไม่ได้ใส่ใจ แต่ใช้สิทธิธรรมดาๆ ในการใช้ถนนบนอานจักรยาน  อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ฉันหลงรักทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ไปพบ และทำให้เป็น loveaffair ระหว่างตัวฉันกับเมือง เพราะคลอง ถนนเล็กๆ จักรยาน และ Dutch Mentality หรือทัศนคติของคนดัตช์ จะเริ่มต้นอธิบายทัศนคติที่ว่าอย่างไรดี? ส่วนมากแล้ว เพื่อนคนดัตช์ในอัมสเตอร์ดัม หรือคนอัมสเตอร์ดัมที่พบและรู้จักนั้น ถ้าเปรียบเป็นดอกไม้เหมือนทานตะวัน มากกว่าทิวลิปที่เป็นเหมือนโลโก้ของประเทศ […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้

09/06/2020

กรุงเทพมหานคร เมืองที่แออัด รถติด ขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง ฝุ่นควัน ความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค และอื่นๆ อีกมากเรื่อง พูดกันได้ไม่รู้จบ แม้เราจะบ่นถึงปัญหาสารพัดของเมืองได้ทุกวัน แต่การค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้ดียิ่งขึ้นก็กำลังเดินหน้าทำงานขนานกันไป ล่าสุดหนึ่งในโครงการปรับเปลี่ยนสะพานด้วนให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าก็สำเร็จลุล่วง เปิดให้ผู้คนได้ใช้บริการแล้ว  โครงการ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park) เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากโครงการผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองชั้นใน ที่มีชื่อเล่นว่า ‘โครงการกรุงเทพฯ 250’ ด้วยความร่วมมือจากภาคีพัฒนาสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่น หัวเรี่ยวหัวแรงประสานความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา ออกแบบวางผัง และดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงสร้างสะพานและผู้ดูแลพื้นที่ ที่เปิดไฟเขียวสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะส่งเสริมการสัญจรของเมือง พร้อมด้วย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาออกแบบวางผังและเสนอความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาฟื้นฟูเมือง สร้างพื้นที่สาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนในเมืองสามารถเดินได้เดินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  วันนี้อยากชวนทุกคนมาเดินทอดน่องชมวิวพระอาทิตย์ตกบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ พร้อมกับฟังแนวคิดและการวางแผนดำเนินการ อุปสรรค รวมถึงข้อจำกัดที่ท้าทาย กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]

คุยเรื่องห้องเรียนในอนาคต กับ ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกเบื้องหลังแนวคิดพื้นที่เรียนรู้แบบไฮบริดในซิลิคอนแวลลีย์

27/05/2020

“ผมมองว่าหลังโควิด-19 คนในแคลิฟอร์เนียก็ยังจะกลับมาเข้าเรียนเหมือนเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือกรอบคิดของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อมต่อกับผู้คน หลัง COVID-19 แม้เมื่อมียารักษาแล้ว ผู้คนก็ยังไม่ลืมว่าเขาเคยสามารถทำงานที่บ้านได้ เคยเรียนและคุยกับคนทั้งห้องที่บ้านผ่านออนไลน์ได้ และเขาก็จะเริ่มถามว่า ทำไมเราจึงมีห้องว่างและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากมายนัก ทั้งที่บางส่วนสามารถย้ายไปอยู่ Online ได้” ยรรยง บุญ-หลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นของโควิด-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาแทบทุกประเทศอย่างฉับพลัน ทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การปรับตัวในระยะสั้นด้วยการเรียนทางไกลส่งผลให้นักเรียนและโรงเรียนต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังทำให้เกิดความปกติใหม่ ที่ทำลายแนวคิดการเรียนรู้แบบเก่าที่ผูดขาดการเรียนการสอนในระบบไว้ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั้น  The Urbanis ชวน ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกชุมชนชาวไทย ผู้เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกอเมริกัน (The American Institute of Architects) พูดคุยเรื่องการเรียนรู้ในอนาคต ทั้งรูปแบบการเรียนการสอน คุณภาพการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้แห่งอนาคต ที่ยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ปัจจุบัน ยรรยงอาศัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำงานวิจัยและออกแบบโรงเรียนของรัฐในเขตซิลิคอนแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แน่นอนว่าแนวคิดที่ยรรยงให้ความสนใจและทำการศึกษาออกแบบอยู่ อาจถูกเร่งปฏิกิริยากลายเป็นความจริงได้เร็วขึ้นเพราะวิกฤตโควิด-19 ที่สั่นสะเทือนไปทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่แวดวงทางการศึกษา เมื่อพูดถึงซิลิคอนแวลลีย์ หลายคนคิดถึงภาพศูนย์รวมของบริษัทและสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ต่างแข่งขันกันนำเสนอนวัตกรรมเปลี่ยนโลก เช่นเดียวกัน โรงเรียนในเขตซิลิคอนแวลลีย์ก็ย่อมมีความพิเศษไม่แพ้กัน ซิลิคอนแวลลีย์ การศึกษาส่วนผสมของแพลตฟอร์มการเรียนรู้เป็นอย่างไรบ้าง […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

Redesigning the Covid-19 city : 8 แนวโน้มที่เป็นไปได้

19/05/2020

การระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายเมืองที่มีสีสันพลันเงียบเหงาลง วิกฤตครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเป็นทั้งด่านหน้าและด่านสุดท้ายของการควบคุมโรคระบาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก Covid-19 ส่งผลร้ายแรงต่อบางเมืองมากกว่าเมืองอื่นและสร้างรอยร้าวขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ เพศสภาพ ชาติพันธุ์และโอกาสในชีวิต มาตรการรับมือต่างๆที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายช่วงรุ่น บางเมืองจะกลับมารุ่งเรืองและมีประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่บางเมืองจะค่อยๆ โรยราและเหี่ยวเฉาลงไป ความรุนแรงของวิกฤตในครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากวิธีการบริหารจัดการ ในโคเปนเฮเกน โซล หรือไทเป ภาครัฐเป็นผู้นำ ขณะที่ภาคประชาสังคมให้ความร่วมมือจึงสามารถจำกัดการแพร่ระบาดลงได้ Covid-19 ทำให้เราย้อนกลับไปคิดและตั้งคำถามกับสัญญาประชาคมที่แตกต่างกันในประเทศที่ยากจนและร่ำรวยเลยทีเดียว ในอนาคตเมื่อเมืองทุกเมืองผ่อนคลายและยุติมาตรการ Lockdown จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจขนาดเรียกได้ว่าเป็นการทดลองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แรงงานทั่วโลกกว่า 81% ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คนส่วนมากมีภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายแต่ไม่สามารถจ่ายได้ กระนั้น สถานการณ์เพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในระยะอันใกล้อาจมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ จนกว่าจะคิดค้นวัคซีนหรือมีวิธีการจัดการไวรัสที่ชะงัดกว่านี้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเมืองไม่สามารถ Lockdown ได้ตลอดไป ในระยะสั้น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโรค การติดตามผู้ติดเชื้อ (Digital contact tracing) และมาตรการ Social Distancing ควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ละมาตรการแปรเปลี่ยนไปตามความรุนแรงและขอบเขตการแพร่กระจายของแต่ละเมือง ยกตัวอย่างเช่น ในจีนใช้โทรศัพท์มือถือติดตามผู้ติดเชื้อโดยในแต่ละระดับความเสี่ยงมีสี (Color-coded) แตกต่างกันประกอบป้องกันไม่ให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านนอกเมืองเดินทางเข้าเมือง เป็นต้น เมืองในยุโรปหลายเมืองเริ่มคิดที่จะผ่อนปรนมาตรการ Social […]

1 2