การท่องเที่ยว



เมืองเล็กๆ ตรงเส้นรอยจูบของสายน้ำ

21/07/2020

การที่อุบลฯ ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก จึงทำให้นอกจากเห็นพระอาทิตย์ก่อนใครแล้วพระอาทิตย์และพระจันทร์แรกขึ้นที่นี่ยังเห็นขนาดใหญ่กว่าที่อื่น และจุดที่ใกล้เส้นเวลานั้นมากที่สุดได้ซ่อนเมืองเล็กๆ ที่สวยงามแห่งหนึ่งไว้ 1 ออกจากอุบลราชธานีมุ่งไปทางตะวันออกจนสุดเขตแดนประเทศซึ่งมีแม่น้ำโขงไหลพาดผ่านจากทิศเหนือลงใต้คล้ายทางช้างเผือกบนแผ่นดิน โขงเจียมเมืองเล็กๆ แห่งนั้นวางตัวเองเงียบๆ ตรงจุดรอยต่อของแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลที่ไหลมาจากทางตะวันตก เส้นทางจากพิบูลมังสาหารมาสู่โขงเจียมนั้นตีคู่ขนานมากับแม่น้ำมูลและมีลักษณะเป็นเนินเขาหินทรายสลับกับร่องน้ำสาขาแม่น้ำมูลซึ่งเป็นพื้นดินที่เพาะปลูกได้ ทุ่งข้าวที่อยู่ระหว่างคลื่นหุบและเนินเหล่านี้จึงต่างระดับถือเป็นทุ่งนาที่สวยมากแห่งหนึ่ง ประมาณกิโลเมตรที่ 70 จากอุบลฯ หรือ 30 จากพิบูลฯ จะมาถึงจุดสูงสุดของเนินเขาฝั่งไทยที่ตั้งวัดถ้ำคูหาสวรรค์ซึ่งถือเป็นยอดภูเขาศักดิ์สิทธิ์ จุดชมวิวตรงโค้งนี้เองจะเห็นเทือกเขาในแดนลาวด้านทิศตะวันออกขึงทอดยาวจากเหนือลงใต้เบื้องล่างนั้นคือแม่น้ำโขง – สายน้ำแห่งชีวิตของมวลมนุษยชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกซึ่งขนาบข้างด้านทิศเหนือของโขงเจียมไว้ส่วนด้านทิศใต้ก็ติดแม่น้ำมูล  และจุดนี้เองที่เราจะเห็นการบรรจบกันของสายน้ำสองสายมูลกับโขง บางฤดูที่น้ำหลากไหลแรงเราจะเห็นเส้นรอยต่อของแม่น้ำทั้งสอง แต่ถ้าอยากเห็นให้ชัดเจนขึ้น เราต้องเลี้ยวขวาจากถนนหลักเส้นนี้ลงไปข้างล่าง รอยจูบของแม่น้ำทั้งสองจะปรากฏต่อหน้าและสามารถลงเรือไปเอื้อมสัมผัสได้   เมืองโขงเจียมอยู่บนเส้นรอยจูบนี้เอง แทรกไว้ตรงนี้ก็ได้ว่า ประมาณ 1-2 กิโลเมตรก่อนที่จะถึงโค้งที่เราจะลอบยลเส้นรอยจูบที่ว่านั้นเราจะผ่านดงป่าไม้สูงใหญ่ขนาบสองข้างถนน ในฤดูใบไม้สดเขียว แสงแดดจะผ่านลงมาได้เพียงแต่น้อย แต่พอเข้าสู่ฤดูที่ใบไม้ร่วง  ถนนช่วงนี้จะถูกปูทับด้วยใบไม้แห้ง และปลิวกระจายออกตามแรงรถที่ขับผ่าน คล้ายดั่งประตูลึกลับก่อนเข้าสู่ดินแดนที่งดงาม ถ้าเรายืนอยู่ในจุดสูงสุดของเนินตรงโค้งนั้นในคืนข้างขึ้นดวงจันทร์จะลอยตัวขึ้นตรงช่องเขาที่แม่น้ำโขงไหลวกเข้าสู่แดนลาวภายหลังบรรจบกับแม่น้ำมูล รอยจูบของสายน้ำทั้งสองระริกไหวอยู่ภายใต้พระจันทร์ดวงนั้นและระยิบระยับสะท้อนแสงจันทร์ ซูมภาพให้ใกล้เข้ามาด้วยการลงไปยืนอยู่ตรงแหลมในตัวเมืองที่ยื่นลงไปตรงจุดบรรจบของสองสายน้ำ ภาพแผ่นน้ำตรงเส้นรอยจูบปรากฏชัดพร้อมกับเสียงน้ำไหลกระทบเกาะแก่งหินและต้นไม้กลางแม่น้ำ โขงเจียมเป็นเมืองที่หลับใหลค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะโซนเรียบริมโขง และถ้าเราเดินย้อนกลับมาในทิศทางตรงกันข้ามในความเงียบภายหลังความหลับนั้น เดินไปตามถนนสายเล็กๆ กลางชุมชนเลียบแม่น้ำโขงที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นคาวปลาหรือหน้าบ้านพักสีแบ เพียงแต่เราแหงนมองไปข้างบนฝั่งตะวันตก เราจะรู้สึกเหมือนว่าเดินอยู่ในเมืองบาดาล แสงไฟจากเจดีย์ของวัดถ้ำคูหาสวรรค์ที่อยู่บนยอดเนินและแสงไฟถนนเส้นไปโพธิ์ไทร ศรีเมืองใหม่ เหมือนแสงไฟเหนือผิวน้ำ ถนนสายที่ตรงไปอำเภอโพธิ์ไทร ยกตัวสูงขึ้นจากตัวเมืองโขงเจียมทอดยาวขึ้นลงตามคลื่นเนินเขา ผ่านผาแต้ม ผาชะนะได ภูสมุย สามพันโบก ยาวไปถึงอำเภอเขมราฐ ต่อไปมุกดาหาร นครพนม บ้านแพง หนองคายได้ ถือเป็นเส้นทางคู่ขนานทวนแม่น้ำโขงขึ้นไปทางเหนือ ทางทิศใต้ของเมือง ใกล้ๆ กับตลาด มีสะพานข้ามแม่น้ำมูล (สิบกว่าปีที่แล้วไม่มีสะพาน  ข้ามฟากต้องใช้เรือขนานยนต์) ถนนเส้นนั้นตัดตรงไปอำเภอสิรินธรและด่านช่องเม็ก-วังเต่า เข้าสู่ลาวใต้ ปากเซ จำปาสัก ถนนยกตัวสูงขึ้นตามลำดับของเนินเขาหินปูน และขึ้นลงเนินเล็กใหญ่สลับกันไป ต้นไม้บนเนินเขามีฟอร์มโดดเด่นพิเศษ ในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่ใบไม้เปลี่ยนสีเป็นถนนสายที่มีเสน่ห์ที่สุดแห่งหนึ่ง จากสภาพแวดล้อมแบบนี้เองทำให้โขงเจียมกลายเป็นการสร้างสรรค์ที่เหมาะเจาะลงตัวของธรรมชาติ เป็นเมืองเล็กๆ ที่อยู่ในจุดที่สวยมาก อีกทั้งภูมิทัศน์ทุกๆ ทิศที่แวดล้อมและนำเรามาสู่หรือออกไปจากโขงเจียมในรัศมี 50 กิโลเมตรยังขับเน้นความงามของเมืองเล็กๆ ในเส้นรอยจูบของแม่น้ำนี้ให้เปล่งประกายขึ้นและยังมีสีสันที่ชัดเจนในแต่ละฤดูให้อารมณ์ไม่ซ้ำกัน ฟังแบบนี้แล้วเหมือนว่าโขงเจียมเป็นเมืองในฝัน ซึ่งก็ใช่อย่างนั้นจริงๆ อย่างน้อยครั้งหนึ่งมันเคยเป็นแบบนั้น 2 ถ้าโขงเจียมโตช้ากว่านี้สัก 30 ปีจะดีที่สุด หลักไมล์ของการเปลี่ยนแปลงนั้นมาพร้อมกับปีการท่องเที่ยวไทย (2530) และเขื่อนปากมูล รูปลักษณ์ของเมืองเล็กๆ บนเส้นรอยจูบของสายน้ำแห่งนี้ถูกดึงให้ยึดโยงกับสองสิ่งนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาตามรูปแบบและรสนิยมกระแสหลักที่ถูกกำหนดโดยศูนย์กลางอำนาจรัฐในขณะนั้น ถ้ามองโขงเจียมอย่างเข้าใจ ความเปลี่ยนแปลงของเมืองเล็กๆ ที่สวยงามแห่งนี้มันก็มีเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตขึ้นในยุคข่าวสารข้อมูลยังไม่กระจายตัวข้ามโลกแบบทุกวันนี้ ทำให้โขงเจียมต้องเป็นฝ่ายรับแต่ทางเดียว  และเป็นการรับจากนโยบายส่วนกลางเท่านั้น ไม่มีการทำประชามติ ประชาชนในพื้นที่ไม่มีสิทธิ์เลือกแนวทางที่ตัวเองต้องการหรือแนวทางที่ทันสมัยแต่เข้ากับหน้าตาและตัวตนของตัวเอง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนที่สุด ผมจะชี้ให้เห็นถนนสี่สายหรือโซนสี่โซนของโขงเจียม หนึ่ง – ถนนในชุมชนค้าขายปลา  ไม่ได้ติดตลิ่งโขงเสียทีเดียว เพราะขนาบข้างด้วยบ้านเรือนไม้ วัด และหน่วยทหารนปข. […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: ฟื้นเมืองท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ เสริมระดับการบริการ และสร้างความเชื่อถือระยะยาว

14/05/2020

เศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยว และวิกฤตการณ์โควิด ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมในด้านต่างๆ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของ GPD โลก ได้สร้างงานให้กับคน 1 ใน 10 หรือคิดเป็น 330 ล้านคนทั่วโลก (WTTC, 2020) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจต่ำ จะมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องมีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง แค่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างงานให้กับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน และคนชายขอบ ประกอบกับนโยบายการลดกำแพงวีซ่า ค่าเดินทางที่ลดลง และค่าครองชีพที่ต่ำ ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยได้นำเอานโยบายและมาตรการป้องกันต่างๆ มาบังคับใช้ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง การระงับสายการบินและโรงแรม เพื่อลดพลวัตการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่แปรผันตรงกับการกระจายเชื้อ เนื่องจากเชื้อโควิดเป็นเชื้อที่ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าการชะงักตัวเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่แปรผันตรงกับเรื่องของการเดินทางและความไว้วางใจอย่างมาก  ย่อมเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญวิกฤตินี้ ได้สะท้อนจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบ แนวทางหลักของการฝ่าวิกฤตโควิดของการท่องเที่ยวไทย สำหรับประเทศไทยที่เรียกได้ว่า เป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism […]