กรุงเทพมหานคร



ทางเท้าสุขุมวิทเป็นอย่างไร: เสียงของผู้ใช้งานทางเท้าสุขุมวิท

13/03/2024

เมืองเดินได้ทำให้เศรษฐกิจดี? งานวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศได้กล่าวถึงประโยชน์ของการพัฒนาเมืองให้เป็น “เมืองเดินได้-เดินดี” โดยนอกจากประโยชน์ทางตรงอย่างการมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว เมืองที่เอื้อให้ผู้คนเดินเท้าในชีวิตประจำวันยังส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจรายย่อย จากการเพิ่มโอกาสในการแวะจับจ่ายใช้สอยของผู้คน ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่น้อยลง ถนนสุขุมวิท เป็นหนึ่งในถนนเศรษฐกิจสายหลักของประเทศไทย อย่างไรตาม ถึงแม้ว่าบริเวณแกนถนนสุขุมวิทจะเป็นที่ตั้งของแหล่งงาน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่พาณิชยกรรม รวมถึงมีโครงการพัฒนาทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทางเดินเท้าริมถนนที่มีปริมาณการใช้งานต่อวันของผู้คนที่สูงนั้น ยังมีสภาพแวดล้อมที่่ไม่น่าเดินและไม่ส่งเสริมให้เกิดการเดิน หากถนนสุขุมวิทที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของคนเมือง และมีศักยภาพในการพัฒนา สามารถเดินได้และเดินดีตลอดทั้งเส้น จะเป็นอย่างไร  กรุงเทพมหานคร และคณะทำงานโครงการฯ จึงได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนสุขุมวิทซอย 1 ถึงซอย 107 (นานา-แบริ่ง) ของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่ 893 คน เกี่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมการเดินเท้าในพื้นที่ ปัญหาที่พบเจอ และความต้องการในการพัฒนา เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาให้ย่านของถนนสุขุมวิทน่าอยู่ และออกแบบทางเท้าให้เดินได้-เดินดี พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของย่านให้ดีมากยิ่งขึ้น ถนนสุขุมวิท พื้นที่ของกลุ่มคนที่หลากหลาย จากการสำรวจข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ใช้งานทางเท้าถนนสุขุมวิท พบว่า มีคนทุกเพศทุกวัยเข้าใช้งานพื้นที่ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 33-34 ปี ผู้ที่ให้ความคิดเห็นที่มีอายุมากที่สุดอยู่ที่ 75 ปี และน้อยที่สุดอายุ 13 ปี ส่วนมากเป็นกลุ่มวัยทำงาน อายุ 26 – […]

ทำไมเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี

14/10/2020

เมืองคือพื้นที่แห่งโอกาสที่คนจำนวนมากเข้ามาแสวงหาโชค กระโจนเข้ามาแหวกว่ายในสายพานการทำงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองและคนที่อยู่ด้านหลังให้ดีขึ้น และเมื่อคนหนาแน่นก็มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมาย โครงสร้างของเมือง ผังเมืองจึงส่งผลอีกหลากมิติต่อเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิต ผศ.ดร นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้ร่วมสะท้อนมุมมองในงาน BOT SYMPOSIUM 2020 ในหัวข้อใหญ่ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง – Restructuring the Thai Economy ในงานวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา โดยผศ.ดร. นิรมล เสนอว่าการเดินดีในเมืองนอกจากจะกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต แล้วยังกระตุ้นเศรษฐกิจให้ไหลเวียนด้วย ยิ่งกับชุมชนและย่านโดยรอบ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ แถมยังทำให้ “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” เพราะเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี “งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่ายิ่งเคลื่อนที่ช้า ยิ่งมีโอกาสในการบริโภคมาก ลองหลับตาจินตนาการถึงความเร็วของการเดินของคนด้วยความเร็ว 3-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือการเดินกับเมืองที่คนเคลื่อนที่ 80-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือรถยนต์ โอกาสในการที่จะแวะพัก ความสะดวกที่จะหยุดจับจ่ายใช้สอยมันแตกต่างกันมาก เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นว่าเมืองทั่วโลกลงทุน (invest, reinvest) กับทางเท้า เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งโดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง หรือว่าเป็นเมืองแบบนี้ที่ต่อแรก (first mile) […]

อดีตที่ไม่มีกรุงเทพฯ และอนาคตที่ ‘อาจ’ ไม่มีอีกครั้ง

01/11/2019

เคยได้ยินมาว่า กรุงเทพฯ เปรียบเสมือนเมืองที่ยังสร้างไม่เสร็จ เพราะในทางธรณีวิทยากรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำที่ไหลมาทับถมพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพื้นที่ดินใหม่ เหมือนดั่งปากแม่น้ำสำคัญหลายๆ แห่งบนโลก อาทิ แม่น้ำอิระวดีในพม่าที่ตะกอนพัดมาสะสมทำให้แผ่นดินงอกออกไปในทะเลปีละประมาณ 55 เมตร หรือแถบแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ที่สมัยก่อนเมืองโบราณชื่ออัวร์อยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร ฉะนั้นพื้นดินกรุงเทพฯ ที่เรากำลังอาศัยอยู่ จึงเป็นพื้นดินใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นจากตะกอนทับถมเมื่อไม่นานมานี้ เช่นเดียวกับรายงานแผนที่ธรณีวิทยาของกรุงเทพฯ ในปี 2559 จากกรมทรัพยากรธรณีประเทศไทยที่พบว่า แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำท่วมถึง เจาะสำรวจพบเศษเปลือกหอยทะเล ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทำงานของทะเล โดยเฉพาะเขตที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลขึ้นและลง (Tidal Zone) และมีความหนามากในบริเวณที่ใกล้ชายฝั่งทะเลปัจจุบัน เป็นเครื่องการันตีได้ว่าสภาพแวดล้อมอดีตของกรุงเทพฯ (หมายรวมถึงจังหวัดภาคกลางบางส่วน) เคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน! จะว่าไปนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะกล่าวว่า แต่เดิมกรุงเทพฯ เคยเป็นทะเลมาก่อน เรามีหลักฐานยืนยันประเด็นนี้มากมาย ทั้งการขุดพบซากหอยทะเลโบราณที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี หรือแม้กระทั่งการขุดพบศีรษะปลาวาฬ ณ พระราชวังเดิมในฝั่งกรุงธนบุรี ประเด็นนี้ต้องไล่ย้อนถึงประวัติศาสตร์โลกที่มีช่วงอบอุ่น และช่วงยุคน้ำแข็งสลับกันไป โดยเริ่มจากเมื่อ 1,000 ปีก่อนที่โลกยังอยู่ในช่วงอบอุ่น (Medieval Warm Period) ตรงกับประวัติศาสตร์ไทยช่วงสมัยทวารวดีก่อนก่อตั้งกรุงสุโขทัย ความร้อนของโลกทำให้น้ำแข็งละลายออกมาจำนวนมาก แม้แต่เกาะกรีนแลนด์ที่ปัจจุบันมีแต่น้ำแข็งยังกลายเป็นเขตอบอุ่นให้ชาวไวกิ้งเข้าไปตั้งรกรากทำการเพาะปลูกในบริเวณนั้นได้ โดยน้ำที่เพิ่มสูงมากขึ้นทั่วโลกทำให้อ่าวไทยกินพื้นที่จังหวัดภาคกลางจมอยู่ใต้ทะเล เหมือนดั่งภาพแผนที่บริเวณอ่าวไทยโบราณสมัยที่ยังไม่มีแม้กระทั่งประเทศไทย  ต่อมาโลกเริ่มเย็นลงจนเข้าสู่ช่วงยุคน้ำแข็งย่อย (Little Ice Age) น้ำทะเลเริ่มจับตัวเป็นน้ำแข็งอีกครั้ง ระดับน้ำทั่วโลกจึงค่อยๆ ลดลง ประกอบกับการทับถมของตะกอนแม่น้ำหลายร้อยปี ทำให้เกิดพื้นแผ่นดินใหม่ในภาคกลางตอนล่าง โผล่ขึ้นเหนือระดับน้ำทะเลในยุคกรุงสุโขทัย และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรไทยจวบจนถึงปัจจุบัน กลับมายังโลก ณ […]